dot
ค้นหารายการทัวร์

dot
คอลเซ็นเตอร์
รายการทัวร์ในทวีปเอเชีย
bulletทัวร์จีนChina
bulletทัวร์ญี่ปุ่น Japan
bulletทัวร์เกาหลีเหนือ North Korea
bulletทัวร์เกาหลีใต้ South Korea
bulletทัวร์ไต้หวัน Taiwan
bulletทัวร์ฮ่องกง Hong Kong
bulletทัวร์มาเก๊า Macao
bulletทัวร์เวียดนาม Viet Nam
bulletทัวร์บรูไน Brunei
bulletทัวร์มาเลเซีย Malaysia
bulletทัวร์พม่า Myanmar
bulletทัวร์ลาว Tour Lao
bulletทัวร์อินเดีย India
bulletทัวร์ศรีลังกา Sri Lanka
bulletมองโกเลีย Mongolia
bulletทัวร์ภูฏาน Bhutan
bulletทัวร์ปากีสถาน Pakistan
bulletทัวร์เนปาล Nepal
bulletทัวร์ฟิลลิปปินส์Philippines
bulletทัวร์สิงค์โปร์ (Singapore)
bulletทัวร์อินโดนีเซีย Indonesia
bulletทัวร์คาซัคสถาน Kazakhstan
bulletทัวร์เติร์กเมนิสถาน Turkmenistan
bulletทัวร์อุซเบกิสถาน Uzbekistan
bulletทัวร์ทรานไซบีเรีย Tran siberia
bulletทัวร์จอร์เจีย Georgia
bulletทัวร์อาเซอร์ไบจัน Azerbaijan
bulletทัวร์อาร์เมเนีย Armenia
รายการทัวร์ในทวีปยุโรป
bulletทัวร์ยุโรป Tour Europe
bulletทัวร์ยุโรปตะวันออก East Europe
bulletทัวร์สแกนดิเนเวีย Scandinavia
bulletทัวร์ไอซ์แลนด์ - Iceland
bulletทัวร์กรีนแลนด์ Greenland
bulletทัวร์บอลติก Baltic
bulletทัวร์บอลข่าน Balkans
bulletทัวร์อังกฤษ Great Britain
bulletทัวร์รัสเซีย Russia
bulletทัวร์สวิตเซอร์แลนด์ Switzerland
bulletทัวร์อิตาลี Italy
bulletทัวร์โรมาเนีย Romania
bulletทัวร์กรีซ Greece
bulletทัวร์โครเอเซีย Croatia
bulletทัวร์สเปน โปรตุเกส Spain-Portugues
bulletทัวร์ยูเครน Ukraine
bulletทัวร์มอนเตเนโกร Montenegro
bulletทัวร์บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา
bulletทัวร์เซอร์เบีย Serbia
ทัวร์อเมริกา
bulletทัวร์อเมริกา America
bulletทัวร์แคนาดา Canada
bulletทัวร์อเมริกาใต้ South America
bulletทัวร์เม็กซิโก Mexico
bulletทัวร์คิวบา Cuba
bulletทัวร์ชิลี Chile
bulletทัวร์เอกวาดอร์ Ecuador
bulletทัวร์เปรู Peru
bulletทัวร์เวเนซูเอล่า Venezuela
รายการทัวร์ในทวีปออสเตรเลีย
bulletทัวร์ออสเตรเลีย Australia
bulletทัวร์นิวซีแลนด์ New Zealand
รายการทัวร์ในตะวันออกกลาง
bulletทัวร์คูเวต Kuwait
bulletทัวร์จอร์แดน Jordan
bulletทัวร์ซีเรีย Syria
bulletทัวร์ดูไบ Dubai
bulletทัวร์ตุรกี Turkey
bulletทัวร์บาห์เรน Bahrain
bulletทัวร์เยเมน Yemen
bulletทัวร์เลบานอน Lebanon
bulletทัวร์อิรัค Iraq
bulletทัวร์อิหร่าน Iran
bulletทัวร์อิสราเอล Israel
bulletทัวร์โอมาน Oman
รายการทัวร์ในทวีปแอฟริกา
bulletทัวร์แอฟริกา Tour Africa
bulletทัวร์แอฟริกาใต้ South Africa
bulletทัวร์แอลจีเรีย Algeria
bulletทัวร์อียิปต์ Egypt
bulletเอธิโอเปีย Ethiopia
bulletทัวร์กานา Ghana
bulletทัวร์เคนย่า Kenya
bulletทัวร์แทนซาเนีย Tazania
bulletทัวร์ลิเบีย Libya
bulletทัวร์มาลี Mali
bulletทัวร์โมรอคโค Morocco
bulletทัวร์โมซัมบิก Mozambique
bulletทัวร์ตูนีเซีย Tunisia
bulletทัวร์เซเนกัล Senegal
bulletทัวร์สวาซิแลนด์ Swaziland
bulletทัวร์ยูกันดา Uganda
ทัวร์เรือสำราญ
bulletเรือสำราญ Arcadia Cruises
bulletเรือสำราญ Celebrity Cruises
bulletเรือสำราญ Costa Cruise
bulletเรือสำราญ MSC Cruises
bulletเรือสำราญ Princess Cruise
bulletเรือสำราญ Royal Caribean
bulletเรือสำราญ Star Cruises
bulletทัวร์เรือสำราญทั่วโลก world cruises
bulletอโรซ่า AROSA
bulletอเวลอน AVALON
ขั้นตอนการจองทัวร์และการชำระเงิน
dot

dot


Facebook utravel.in.th

Line ID UTRAVEL
Line ID :  u.travel

 



ทัวร์สวาซิแลนด์


 ทัวร์ต่างประเทศ  :  ประเทศสวาซิแลนด์
ทัวร์สวาซิแลนด์ เที่ยวสวาซิแลนด์ แพคเกจทัวร์สวาซิแลนด์

 

ทัวร์สวาซิแลนด์ Tour Swaziland  ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์  ขอนำเสนอทัวร์สวาซิแลนด์  ดินแดนที่ยังมีความเชื่อเรื่องแม่มด หมอผี  ดินแดนที่มีกฎหมายห้ามไม่ให้แม่มดขี่ไม้กวาดสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (150 เมตร)

ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ (Swaziland)

รับจัดโปรแกรมทัวร์สวาซิแลนด์


 

Swaziland 

 kingmswatiiii

ข้อมูลทัวร์สวาซิแลนด์

สวาซิแลนนด์ หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ (Swaziland)

ประมุขของรัฐ สมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่ 3 

พื้นที่ 17,363 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ถูกล้อมรอบด้วยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 430 กิโลเมตร และโมซัมบิก 106 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา แบ่งออกเป็น 4 จังหวัด คือ Mhohhe, Lubombo, Manzini และ Shiselweni

swaziland_map

ประชากร ประมาณ 1.1 ล้านคน (พ.ศ. 2544) อัตราการขยายตัวของประชากรร้อยละ 1.83 (2544)    

 

 

 

 

 

 

 

ศาสนา ประชากรร้อยละ 60 นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือความเชื่อดั้งเดิม
ชนชาติ เริ่ม ก่อตั้งประเทศเ
mbabane_swazilandมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18 โดยคนเผ่า Nguni ซึ่งเดิมอยู่แอฟริกาตอนใต้ได้อพยพลงมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นราช อาณาจักรสวาซิแลนด์ปัจจุบัน และปัจจุบันได้เรียกเผ่าตนว่า Swazi นอกจากนั้น ประชาชนยังประกอบด้วยชนเผ่าซูลูและชนเผ่า Tsonga – Shangaan

เมืองหลวง Mbabane (บาบาเน่) เมืองธุรกิจที่สำคัญ Manzini (แมนซินี่)

การปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาตั้งแต่เดิมจนกระทั่งปัจจุบันนี้อยู่ภายใต้ราชวงศ์ Dlamini
ภาษาราชการ คือ Siswati และ English 

manzini__swaziland
ประวัติศาสตร์
               ชนชาติสวาซิเป็นชนเผ่า Nguni เดิมอาศัยอยู่ทางแอฟริกากลาง ตามประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสวาซิแลนด์ถือว่ากษัตริย์องค์แรกของตนก่อนที่จะ เคลื่อนย้ายลงมาในดินแดนปัจจุบัน ได้แก่ Ngwane I กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มา ได้แก่ Dlamni I, Mswati I, Ngwane II, Dlamini II, Mavuso I, Magudulela I, Ludvonga I, Dlamini III โดยที่ไม่มีการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในช่วงที่ขึ้นครองราชสมบัติของ กษัตริย์เหล่านี้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงไม่ทราบแน่นอนว่ากษัตริย์เหล่านี้ครองราชสมบัติในช่วง ค.ศ. ใดบ้าง 

e0b88ae0b899e0b980e0b89ce0b988e0b8b2-nguni-2

ชนชาติสวาซิหรือเผ่า Nguni ได้เคลื่อนย้ายลงมาทางแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ในปัจจุบันประมาณปี ค.ศ. 1750 ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ Ngwane III จึงได้ถือว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักร สวาซิแลนด์ปัจจุบัน โดยครองราชย์อยู่จนถึงปี ค.ศ. 1780 กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาของสวาซิแลนด์ ได้แก่ Ndugunye Sobhuza I, Mswati, Mbandzeni, Ngwane V, Sobhuza II และกษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือ King Mswati III ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1986 เมื่อชนชาติสวาซิแลนด์อพยพลงมาอาศัยมาในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศนี้ ใหม่ ๆ ได้เกิดข้อขัดแย้งในการแย่งดินแดนกับชนเผ่าซูลู ซึ่งมีความเข้มแข็งกว่าชนเผ่า Swazi ต่อมาเมื่อมีการขุดพบทองคำในภูมิภาคนี้เมื่อปี ค.ศ. 1879 จึงมีคนผิวขาวจากยุโรปอพยพเข้าไปแสวงโชคกันมากและยึดดินแดนในภูมิภาคนี้เป็น เมืองขึ้น สวาซิแลนด์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของคนผิวขาวเชื้อสายดัช ซึ่งได้ครองดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ปัจจุบันด้วย ในขณะนั้นเรียกว่า Boer Republic of Transvaal ต่อมาคนเชื้อสายอังกฤษได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้และได้ทำสงครามชนะ คนเชื้อสายดัช (Boer) เมื่อปี ค.ศ. 1903 สวาซิแลนด์จึงกลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษหรือเป็น British High Commission Territory สวาซิแลนด์ได้รับเอกราชเมื่อ 6 กันยายน ปี ค.ศ. 1968 ภายใต้การปกครองของ King Sobhuza II โดยมีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐ ธรรมนูญ ต่อมาเมื่อ King Sobhuza II ได้ทรงแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจสูงสุดใน การปกครองประเทศ พร้อมทั้งยกเลิกการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทรงตราพระราชบัญญัติห้ามการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการ เมือง ปัจจุบันสวาซิแลนด์ยังคงปกครองตามแนวทางการปกครองที่ King Sobhuza II ได้ทรงวางรากฐานไว้และปัจจุบันสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งมีอิทธิพลเหนือราช อาณาจักรสวาซิแลนด์พยายามกดดันให้สวาซิแลนด์เปลี่ยนเปลงการปกครองเพื่อให้ เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

การเมืองการปกครอง

สถาบันกษัตริย์
     ปัจจุบันสวาซิแลนด์ยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ( King Mswati III )และมีพระราชอำนาจสิทธิขาดในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและในคณะ รัฐบาล กษัตริย์สวาซิแลนด์ทรงมีอำนาจในการปกครองประเทศมาก ทรงครอบครองกรรมสิทธิในที่ดินส่วนใหญ่ภายในประเทศ และทรงมอบสิทธิในการทำกินบนพื้นที่ต่าง ๆ ให้ประชาชนโดยมอบผ่านหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ นำไปจัดสรรให้ประชาชนทำกินโดยมีเงื่อนไขว่าจะส่งผลผลิตเป็นการตอบแทนผ่านทาง หัวหน้าเผ่าพระมหากษัตริย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของสวาซิแลนด์ คือ King Mswati I และ King Sobhuza II ซึ่งพระองค์หลังมีส่วนในการช่วยให้สวาซิแลนด์ได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1968 King Sobhuza II เป็นพระราชบิดาของ King Mswati III (สวาติที่ 3) King Sbohuza II ทรงวางรากฐานทางการเมืองและการปกครองของสวาซิแลนด์ซึ่งยังคงใช้กันต่อมาตราบ เท่าทุกวันนี้ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัตินานที่สุดในโลก คือ 61 ปี (ค.ศ. 1921 ถึง ค.ศ. 1982)

sobhuzaii
ทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชนเนื่องจากทรงมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับประชาชน ตามขนบธรรมเนียมของสวาซิแลนด์นั้น พระมหากษัตริย์ทรงมีพระชายาเป็นจำนวนมาก โดยทรงเลือกจากสาวเผ่าต่าง ๆ ทุกเผ่าที่มีในประเทศเพื่อให้เกิดความผูกพันกับประชาชนเผ่าต่าง ๆ ประมาณว่า King Sobhuza II มีพระราชโอรสและธิดารวม 600 พระองค์ ประเพณีในการคัดเลือกพระมหากษัตริย์องค์ก่อนที่เกิดจากพระมารดาคนใดคนหนึ่ง ที่มีเพียงพระราชโอรสองค์เดียว และยังไม่อภิเษกสมรสขึ้นครองราชสมบัติ ในระหว่างที่ยังไม่มีการสถาปนากษัตริย์ขึ้นครองราชย์นั้น จะให้ Queen Mother เป็นผู้สำเร็จราชการแทน บุคคลที่เป็นผู้คัดเลือกพระมหากษัตริย์ คือ Inner Council ซึ่งได้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่อาวุโสไม่จำกัดจำนวน
     Queen Mother จึงเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศควบคู่ไปกับพระมหากษัตริย์ Queen Mother อาจจะเป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่เองก็ได้ เช่นในกรณี Queen Mother องค์ปัจจุบัน หรืออาจเป็นผู้สำเร็จราชการเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จฯ สวรรคต และจะปกครองประเทศระยะหนึ่งจนกว่าจะมีการสถาปนากษัตริย์องค์ใหม่ เช่น กรณีของ Queen Mother องค์ปัจจุบันซึ่งมีพระนามว่า Ntombi ได้ครองราชย์ภายหลังจาก King Sobhuza II สวรรคตเมื่อ ค.ศ. 1982 จนกระทั่งมีการสถาปนา King Mswati III ขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1986 หรือในกรณีกษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ Queen Mother จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นอกจากนั้น จะเป็นผู้นำประเทศในด้านการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของ ประเทศ

การเมืองการปกครอง
     ภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้ว สวาซิแลนด์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีพรรคการเมืองหลายพรรคและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกตั้ง ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1973 ถึง ค.ศ. 1977 กษัตริย์ Sobhuza II ได้ทำการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงการปกครองของสวาซิแลนด์โดยได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเพิ่มอำนาจการปกครองให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของกษัตริย์และห้ามการจัด ตั้งพรรคการเมือง กษัตริย์ Sobhuza II ได้ทรงวางรากฐานการปกครองประเทศสวาซิแลนด์ขึ้น ซึ่งใช้ปกครองประเทศสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยทรงนำแนวทางการปกครองประเทศแบบตะวันตกผสมผสานกับการปกครองตามประเพณีดั้ง เดิมเข้าด้วยกัน สรุปได้ดังนี้ คือ

ฝ่ายบริหาร
     พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศที่มีพระราชอำนาจสิทธิขาดเหนือ รัฐบาล ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหาร ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยส่วนหนึ่งทรงแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัยและส่วนหนึ่งทรงแต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งเป็นผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนาย Barnabas Sibusiso Dlamini และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าคือ นาย Abednego Ntshangase

ฝ่ายนิติบัญญัติ
ประกอบด้วยวุฒิสภา (Upper House) ซึ่งมีจำนวน 30 คน โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจแต่งตั้ง 20 คน และอีก 10 คน สภาผู้แทนราษฎร (Lower House or House of Assembly) เป็นผู้คัดเลือกจากบุคคลทั่วไป มีประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ในการควบคุมการประชุม สภาล่างประกอบด้วยประธาน รองประธานสภาฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ และผู้แทนของประชาชนอีก 53 คน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชนและบริหารท้องถิ่นนั้นซึ่งมีทั้งหมด 53 เขต ทั่วประเทศเรียกว่า Tinkhundla Centres นอกจากนั้น สภาล่างยังประกอบด้วยผู้แทนอีก 10 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากกษัตริย์ในการเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนโดยผ่าน Tinkhundla Centres นั้น ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ คือ จะมีการเลือกตั้งผู้สมัครจากเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเขต Tinkhundla Centres แต่ละแห่งก่อน โดยหัวหน้าเผ่าต่าง ๆ จะเรียกประชุมชาวบ้าน หลังจากนั้นจะให้มีการเลือกตั้งผู้สมัครของแต่ละเผ่าเพื่อเป็นผู้สมัครรับ เลือกตั้ง Tinkhundla Centres โดยทั่วไปแล้ว Tinkhundla Centres จะประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ ประมาณ 6 – 10 เผ่า ดังนั้น การเลือกตั้งผู้แทนสภา Tinkhundla Centres จึงเป็นการเลือกตั้งจากผู้แทนของแต่ละเผ่าในเขต Tinkhundla Centres จากผู้สมัคร 6 – 10 คน ให้เหลือเพียง 1 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชนของ Tinkhundla Centres นั้น ๆ Tinkhundla Centres ในสวาซิแลนด์มีทั้งหมด 53 เขต และจะมีการเลือกตั้งทุก ๆ 5 ปี โดยให้ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปมีสิทธิเลือกตั้ง การเลือกตั้งครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1993 การที่สวาซิแลนด์มีระบบการมีผู้แทนของประชาชนจาก Tinkhundla Centres ซึ่งไปทำหน้าที่เป็นปากเสียงแทนประชาชนของท้องที่ต่าง ๆ นั้น ทำให้สวาซิแลนด์ว่าได้ผสมผสานระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับประเพณีดั้งเดิมของตน

ฝ่ายตุลาการ
     สวาซิแลนด์ใช้ระบบตุลาการ 2 แนวทางควบคู่กันไป คือ การพิจารณาคดีตามประเพณีดั้งเดิม หรือเรียกว่า Traditional Swazi National Courst และการพิจารณาตามระบบศาลสถิตยุติธรรมตามแบบตะวันตก โดยยึดแนวทางกฎหมายแนว Roman Dutch ซึ่งการพิจารณาตามแนวทางสมัยใหม่นี้แบ่งศาลยุติธรรมเป็น High Court, Magistrates Courts และ Industrial Courts นอกจากนั้น ยังมี Constitutional Courts ซึ่งทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของประเทศและจะมีหน้าที่พิพากษาตัดสินคดีที่ศาล อื่น ๆ มีความเห็นขัดแย้งกัน และการตัดสินคดีของ Constitutional Courts ถือว่าคดีสิ้นสุด
 

เศรษฐกิจการค้า

เศรษฐกิจการค้า
     สภาพเศรษฐกิจของสวาซิแลนด์ผูกพันอยู่กับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นอย่างมาก โดยประมาณร้อยละ 80 ของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนำเข้าจากแอฟริกาใต้ และร้อยละ 30 ของสินค้าส่งออกของสวาซิแลนด์ส่งไปยังแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น ระบบการเงินและการคลังรวมทั้งระบบภาษีศุลกากรของสวาซิแลนด์ก็ผูกพันกับ แอฟริกาใต้ เนื่องจากสวาซิแลนด์เป็นประเทศสมาชิกของ Southern African Customs
sacu 
           
    Union (SACU) ซึ่งมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ คือ แอฟริกาใต้ บอตสวานา เลโซโท นามิเบีย และสวาซิแลนด์ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก SACU ได้ทำความตกลงยินยอมให้มีการขนถ่ายสินค้าเข้าออกระหว่างประเทศสมาชิกได้ อย่างเสรี การนำเข้าสินค้าเข้าจากประเทศภายนอกสมาชิก SACU สามารถนำเข้าได้ที่เมืองท่าเมืองหนึ่งท่าใดของประเทศสมาชิก ซึ่งจะมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าและภาษีศุลกากร ณ เมืองท่า นั้น โดยจะนำรายได้จากภาษีเหล่านี้มาเฉลี่ยแก่ประเทศสมาชิกตามอัตราส่วนที่ตกลง กันได้ ในส่วนของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์นั้นถือว่ารายได้ซึ่งได้รับจากส่วนเฉลี่ยของ ภาษีที่ได้จาก SACU นั้นเป็นรายได้หลักที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล ซึ่งนำไปใช้ในการบริหารประเทศ สินค้าจากต่างประเทศที่ผ่านเข้าเมืองท่าของประเทศสมาชิก SACU แล้วสามารถส่งต่อไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้โดยเสรีและไม่ต้องเสียภาษีอีก ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วสินค้าเข้าส่วนใหญ่ผ่านเข้าทางเมืองท่าของแอฟริกาใต้ ดังนั้น แอฟริกาใต้จึงมีอิทธิพลเหนือประเทศ SACU อื่น ๆ มาก โดยใช้เรื่องสัดส่วนในการแบ่งปันรายได้จากการจัดเก็บภาษีสินค้าเข้า SACU เป็นเครื่องมือต่อรองในการเจรจาทางการเมืองและเศรษฐกิจอยู่เสมอ
สินค้าที่เป็นรายได้หลักของประเทศ ได้แก่ น้ำตาลทราย ผลผลิตจากป่าไม้ อาทิ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์จากไม้สน เครื่องดื่ม เครื่องตกแต่งบ้าน และตู้เย็น การลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากอังกฤษและแอฟริกาใต้ ประชาชนร้อยละ 80 อยู่ในภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม สวาซิแลนด์ก็ยังไม่สามารถผลิตอาหารได้พอเพียงต่อความต้องการของประชาชน รายได้จากการท่องเที่ยวนับว่าเป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศสินค้านำ เข้า ได้แก่ รถยนต์ เครื่องจักร อุปกรณ์รถยนต์ ผลผลิตจากน้ำมัน อาหารและเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมของประเทศ ได้แก่ เหมืองแร่ธาตุหิน และแอสเบสตอน กระดาษและน้ำตาลทราย

รัพยากรที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ แอสเบสตอส ถ่านหิน ป่าไม้ นอกจากนั้น ยังมีทองคำและเพชรอยู่บ้าง
ผลผลิตรวมแห่งชาติ (GDP) ประมาณ 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2542)
รายได้ประชาชาติต่อหัว ประมาณ 4,200 ดอลลาร์สหรัฐ (2542)
อัตราการเจริญเติบโตของประเทศมีประมาณ ร้อยละ3.1 (2542)
อัตราเงินเฟ้อประมาณ ร้อยละ 6 (2542)
หนี้สินต่างประเทศ
ประมาณ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2542)

royal-swazi-national-airways-corporation



ประเทศคู่ค้าที่สำคัญอื่น ๆ ของ สวาซิแลนด์ได้แก่ประเทศของสมาชิกของ Lome Conventions ซึ่งได้แก่ สหภาพยุโรปซึ่งได้ทำความตกลงยกเว้นภาษีที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศในทวีป แอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก รวม 70 ประเทศ ซึ่งสวาซิแลนด์ก็ได้ใช้สิทธิประโยชน์นี้ด้วย ลำดับรองลงไปได้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม Southern African Development Community (SADC) ซึ่งมีสมาชิก 14 ประเทศ ได้แก่ Angola, Botswana, Lesotho, Malawi, Mauritius, Mozambique, Namibia, South Africa, Tanzania, Zambia,Zimbabwe, Swaziland, Congo และ Seychelles นอกจากนั้น ได้แก่ ประเทศสมาชิกใน The Preferential Trade Area/Common Market for Eastern and Southern Africa หรือ PTA/COMESA ซึ่งมีสมาชิก 19 ประเทศ

 

การคมนาคม
ถนน ในปี 2538 ถนนทั้งหมดมีความยาว 2,886 กิโลเมตร ซึ่ง 828 กิโลเมตรเป็นถนนราดยาง
ทางรถไฟ ในปี 2540 เส้นทางรถไฟยาว 301 กิโลเมตร ในช่วงปี 2538 – 2539 ขนส่งสินค้าจำนวน 4,129,000 ตัน
การบินพลเรือน มีสนามบินนานาชาติที่เมือง Manzini สายการบินแห่งชาติ ชื่อ Royal Swazi National Airways มีรัฐถือหุ้น 50% นอกจากนี้สายการบินอื่น ๆ ที่บินผ่าน ได้แก่ Air Zimbabwe, Commercial Airways
โทรคมนาคม ในปี 2530 มีที่ทำการไปรษณีย์ 71 แห่ง ในปี 2538 มีโทรศัพท์ 35,131 เครื่อง สถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นของรัฐบาล ในปี 2535 มีวิทยุจำนวน 60,000 เครื่องและโทรทัศน์จำนวน 12,500 เครื่อง
 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรสวาซิแลนด์

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรสวาซิแลนด์
ความสัมพันธ์ด้านการทูต
 
     ไทยและสวาซิแลนด์ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อ วันที่ 17 มกราคม 2534 ปัจจุบันสวาซิแลนด์ได้แต่งตั้งนาย Mabili D. Dlamini เอกอัครราชทูตสวาซิแลนด์ประจำมาเลเซียเป็นเอกอัครราชทูตสวาซิแลนด์ประจำ ประเทศไทยด้วย โดยมีถิ่นพำนักที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 กำหนดให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียมีเขตอาณาดูแลครอบคลุมประเทศสวาซิแลนด์ ปัจจุบัน นายจีระศักดิ์ ธเนศนันท์ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงบาบาเน่ (ถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย) 

 

ในด้านแรงงาน ปัจจุบันมีแรงงานไทยกลุ่มหนึ่งทำงานอยู่ในสวาซิแลนด์ที่โรงผลิตกระดาษ Swazi Paper Mill ในเขตอุตสาหกรรม Matsapha Industrial Estate 

 

การแลกเปลี่ยนการเยือน
- Sir George Mamba อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศประเทศสวาซิแลนด์และภริยาได้เดินทาง มาเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 13 – 20 มีนาคม 2534 โดยเป็นแขกของกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2534
- กษัตริย์สวาซิแลนด์เคยเสด็จฯ แวะพักเพื่อเปลี่ยนเครื่องบินที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ หลังการประชุมระดับประมุขของประเทศเครือจักรภพที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อ เดือนตุลาคม 2532
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จฯ เยือนราชอาณาจักรสวาซิแลนด์อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน 2537
พระราชอาคันตุกะ_สวาซิแลนด์

- นาย Solomon M. Dlamini รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนาย Themba Masuku รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจของสวาซิแลนด์ได้เดินทางมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 18 – 22 มกราคม 2538 โดยเป็นแขกของกระทรวงฯ การมาเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือในด้านความร่วมมือระหว่างสอง ประเทศ
- คณะผู้แทนไทยซึ่งมีรองอธิบดีกรมวิเทศสหการเป็นหัวหน้าคณะได้เดินทางไปเยือน สวาซิแลนด์ในเดือนพฤษภาคม 2538 และได้หารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศสวาซิแลนด์ใน เรื่องความช่วยเหลือทางวิชาการ
- สมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่สาม และพระชายาเสด็จฯ แวะพักและเปลี่ยนเครื่องบินที่ท่าอากาศยานกรุงเทพเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2539 ก่อนที่จะเสด็จฯ เดินทางต่อไปยังไต้หวัน
- คณะผู้แทน Fact-finding Mission จากกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเยือนสวาซิแลนด์ระหว่างวันที่ 16 – 17 มิถุนายน 2539 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ผู้แทนของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ไปเยือน สวาซิแลนด์
- สมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่สามและพระชายา เสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤษภาคม 2540 ในฐานะอาคันตุกะของรัฐบาล
- สมเด็จพระราชชนนีแห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์เสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 7 พฤษภาคม 2545
- ผู้แทนพิเศษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายนิสสัย เวชชาชีวะ) นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนเยือนสวาซิแลนด์อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2545
- สมเด็จพระราชาธิบดีสวาติที่สามและพระชายา เสด็จ ฯ เยือนจังหวัดภูเก็ตเป็นการส่วนพระองค์ ระหว่างวันที่ 16-21 ตุลาคม 2545
ความสัมพันธ์ด้านการค้า
ไทยและสวาซิแลนด์ได้มีการติดต่อซื้อขายกันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าแก่สวาซิแลนด์ สินค้าที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม และแร่ดิบ สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออก ได้แก่ ปูนซีเมนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และ ข้าว หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา สวาซิแลนด์นับเป็นประเทศหนึ่งที่ไทยมีมูลค่าการค้าในระดับกลาง การติดต่อค้าขายระหว่างกันยังมีลู่ทางที่จะสามารถขยายตัวได้เพิ่มขึ้นโดยการ ค้ากับสวาซิแลนด์โดยตรงหรือผ่านแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศที่สวาซิแลนด์ต้อง พึ่งพาเศรษฐกิจอยู่

 

 

"สวาซิแลนด์" ออกกฎห้าม "แม่มด" ขี่ไม้กวาดสูงจากพื้นเกิน 150 ม.

16 พ.ค. 2556 - สวาซิแลนด์ สร้างความฮือฮาให้กับคนทั้งโลกหลังออกกฎหมายใหม่ ห้าม แม่มด บินสูงจากพื้น เกิน 150 เมตร


             
 

รายงานข่าวล่าสุดจากกรุงอึมบาบาน เมืองหลวงของราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ในแอฟริการะบุว่า ทางการได้ประกาศบังคับใช้กฏหมายด้านการบินฉบับใหม่ซึ่งมีข้อกำหนดว่า พวก “แม่มด” ภายในประเทศจะต้องถูกจับกุม และปรับเงินก้อนโตถึงราว 500,000 แรนด์ (คิดเป็นเงินไทยราว 1.6 ล้านบาท) หากทำการ “ขี่ไม้กวาด” บินขึ้นไปในอากาศด้วยความสูงเกินกว่า 150 เมตรจากพื้นดิน
ซาเบโล ดลามินี ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการองค์กรประจำสำนักงานการบินพลเรือนแห่งสวาซิแลนด์ ออกมาย้ำว่า พวกแม่มดมิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ดังนั้นแม่มดจึงมีสถานะเป็น “พลเรือน” เช่นเดียวกับประชาชนชาวสวาซิแลนด์ทั่วไป ดังนั้น จึงต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฏหมายการบินพลเรือนฉบับใหม่อย่างเคร่งครัด
“หน่วยงานของเราได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว และเห็นว่าถือเป็นเรื่องที่ดี ที่มีการออกกฏหมายจำกัดเพดานบินของพวกแม่มดขี่ไม้กวาดทั้งหลายไม่ให้บินสูงเกินกว่า 150 เมตร ผมขอยืนยันว่าถ้าพวกเธอเดินทางด้วยไม้กวาดในความสูงต่ำกว่า 150 เมตร พวกเธอก็จะไม่ถูกตั้งข้อหาใดๆ แต่ถ้าฝ่าฝืนก็ต้องถูกดำเนินการตามกฏหมายทันที” ดลามินีกล่าว
กฏหมายด้านการบินฉบับใหม่ของราชอาณาจักรซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเลแห่งนี้ ยังครอบคลุมไปถึงการจำกัดเพดานบินของพวกเครื่องบินบังคับวิทยุ หรือของเด็กเล่นต่างๆที่สามารถทำให้บินได้อีกด้วย
ทั้งนี้ แม้ประชากรราว 82.70 เปอร์เซ็นต์ของสวาซิแลนด์ในปัจจุบันจะนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ แต่ความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับเรื้องลี้ลับเหนือธรรมชาติ ยังคงได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายจากประชาชนสวาซิแลนด์กว่า 1.2 ล้านคนทั่วประเทศ

 

ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์ ให้บริการแลนด์แก่บริษัททัวร์ทั่วประเทศ จัดทัวร์สวาซิแลนด์ จัดทำแพคเกจทัวร์สวาซิแลนด์ จัดคณะทัวร์สวาซิแลนด์ บริการข้อมูลท่องเที่ยวสวาซิแลนด์ จัดหาตั๋วเครื่องบินสู่ประเทศสวาซิแลนด์ จองโรงแรมที่พักสวาซิแลนด์ จัดประชุมสัมนาที่ประเทศสวาซิแลนด์ งานแสดงสินค้าที่ประเทศสวาซิแลนด์ รถทัวร์สวาซิแลนด์ วีซ่าสวาซิแลนด์

รับจัดทัวร์สวาซิแลนด์กรุ๊ปพิเศษสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปสัมผัสประเทศสวาซิแลนด์ ด้วยตนเอง
ติดต่อ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์    แลนด์สวาซิแลนด์ประเทศไทย
โทร. 02-4282114
Email:  u.travel@hotmail.com

ทัวร์ต่างประเทศ : ประเทศสวาซิแลนด์ SWAZILAND
โปรแกรมทัวร์สวาซิแลนด์แยกตามเดือน
* ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนมกราคม 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนกุมภาพันธ์ 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนมีนาคม 2556
* ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนเมษายน 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนพฤษภาคม 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนมิถุนยน 2556
* ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนกรกฎาคม 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนสิงหาคม 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนกันยายน 2556
* ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนตุลาคม 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนพฤศจิกายน 2556 * ทัวร์สวาซิแลนด์เดือนธันวาคม 2556

* ทัวร์สวาซิแลนด์ * เที่ยวสวาซิแลนด์ * ข้อมูลสวาซิแลนด์ * ประวัติสวาซิแลนด์ * ประเทศสวาซิแลนด์
* อุณหภูมิสวาซิแลนด์ * สถานที่เที่ยวสวาซิแลนด์




แอฟริกา AFRICA

ทัวร์แอฟริกา
11 วัน มาดากัสการ์ – มอริเชียส – รียูเนียน
ทัวร์กานา TOUR GHANA
ทัวร์เคนย่า แพคเกจทัวร์เคนย่า เที่ยวเคนย่าซาฟารี ทัวร์เคนย่าตลาดบน
ทัวร์เคนย่าซาฟารี 8 วัน 5 คืน
KE121101YZ-Safari Kenya 8 Days 5 Nights Kenya Airways flight by July - December 2560
ทัวร์แทนซาเนีย เที่ยวแทนซาเนีย
ทัวร์ตูนิเซีย เที่ยวตูนีเซีย แลนด์ทัวร์ตูนีเซีย ชำนาญทัวร์ตูนีเซีย
ทัวร์โมรอคโค อยู่ดี กินดี พัก 5 ดาว ปี 2567 เจาะลึกโมร็อกโก โดยคุณเส็ง ผู้ชำนาญทัวร์โมรอคโค article
ทัวร์ยูกันดา อูกานดา Uganda
ทัวร์เอธิโอเปีย เที่ยวเอธิโอเปีย
ทัวร์อียิปต์ ปี 2567 ทัวร์คุณภาพ พัก 5 ดาว ล่องเรือสำราญสุดหรูตามลำน้ำไนล์ โดยผู้ชำนาญทัวร์อียิปต์
ทัวร์โมซัมบิก เที่ยวโมซัมบิก Mozambique
ทัวร์แอฟริกาใต้ ข้อมุูลเที่ยวแอฟริกาใต้ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
AF121203BZ_SOUTH_AFRICA_11D8N_by_SQ_2017
ทัวร์เซเนกัล
ทัวร์ลิเบีย
ทัวร์มาลี
ทัวร์แอลจีเรีย แลนด์แอลจีเรีย ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
โปรแกรม 8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส RE15150908MZ
8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส
โปรแกรม 10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย KT15151010YZ
10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย 2019
ทัวร์คองโก – ยูกันดา – รวันดา – บุรุนดี 12 วัน