dot
ค้นหารายการทัวร์

dot
คอลเซ็นเตอร์
รายการทัวร์ในทวีปเอเชีย
bulletทัวร์จีนChina
bulletทัวร์ญี่ปุ่น Japan
bulletทัวร์เกาหลีเหนือ North Korea
bulletทัวร์เกาหลีใต้ South Korea
bulletทัวร์ไต้หวัน Taiwan
bulletทัวร์ฮ่องกง Hong Kong
bulletทัวร์มาเก๊า Macao
bulletทัวร์เวียดนาม Viet Nam
bulletทัวร์บรูไน Brunei
bulletทัวร์มาเลเซีย Malaysia
bulletทัวร์พม่า Myanmar
bulletทัวร์ลาว Tour Lao
bulletทัวร์อินเดีย India
bulletทัวร์ศรีลังกา Sri Lanka
bulletมองโกเลีย Mongolia
bulletทัวร์ภูฏาน Bhutan
bulletทัวร์ปากีสถาน Pakistan
bulletทัวร์เนปาล Nepal
bulletทัวร์ฟิลลิปปินส์Philippines
bulletทัวร์สิงค์โปร์ (Singapore)
bulletทัวร์อินโดนีเซีย Indonesia
bulletทัวร์คาซัคสถาน Kazakhstan
bulletทัวร์เติร์กเมนิสถาน Turkmenistan
bulletทัวร์อุซเบกิสถาน Uzbekistan
bulletทัวร์ทรานไซบีเรีย Tran siberia
bulletทัวร์จอร์เจีย Georgia
bulletทัวร์อาเซอร์ไบจัน Azerbaijan
bulletทัวร์อาร์เมเนีย Armenia
รายการทัวร์ในทวีปยุโรป
bulletทัวร์ยุโรป Tour Europe
bulletทัวร์ยุโรปตะวันออก East Europe
bulletทัวร์สแกนดิเนเวีย Scandinavia
bulletทัวร์ไอซ์แลนด์ - Iceland
bulletทัวร์กรีนแลนด์ Greenland
bulletทัวร์บอลติก Baltic
bulletทัวร์บอลข่าน Balkans
bulletทัวร์อังกฤษ Great Britain
bulletทัวร์รัสเซีย Russia
bulletทัวร์สวิตเซอร์แลนด์ Switzerland
bulletทัวร์อิตาลี Italy
bulletทัวร์โรมาเนีย Romania
bulletทัวร์กรีซ Greece
bulletทัวร์โครเอเซีย Croatia
bulletทัวร์สเปน โปรตุเกส Spain-Portugues
bulletทัวร์ยูเครน Ukraine
bulletทัวร์มอนเตเนโกร Montenegro
bulletทัวร์บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา
bulletทัวร์เซอร์เบีย Serbia
ทัวร์อเมริกา
bulletทัวร์อเมริกา America
bulletทัวร์แคนาดา Canada
bulletทัวร์อเมริกาใต้ South America
bulletทัวร์เม็กซิโก Mexico
bulletทัวร์คิวบา Cuba
bulletทัวร์ชิลี Chile
bulletทัวร์เอกวาดอร์ Ecuador
bulletทัวร์เปรู Peru
bulletทัวร์เวเนซูเอล่า Venezuela
รายการทัวร์ในทวีปออสเตรเลีย
bulletทัวร์ออสเตรเลีย Australia
bulletทัวร์นิวซีแลนด์ New Zealand
รายการทัวร์ในตะวันออกกลาง
bulletทัวร์คูเวต Kuwait
bulletทัวร์จอร์แดน Jordan
bulletทัวร์ซีเรีย Syria
bulletทัวร์ดูไบ Dubai
bulletทัวร์ตุรกี Turkey
bulletทัวร์บาห์เรน Bahrain
bulletทัวร์เยเมน Yemen
bulletทัวร์เลบานอน Lebanon
bulletทัวร์อิรัค Iraq
bulletทัวร์อิหร่าน Iran
bulletทัวร์อิสราเอล Israel
bulletทัวร์โอมาน Oman
รายการทัวร์ในทวีปแอฟริกา
bulletทัวร์แอฟริกา Tour Africa
bulletทัวร์แอฟริกาใต้ South Africa
bulletทัวร์แอลจีเรีย Algeria
bulletทัวร์อียิปต์ Egypt
bulletเอธิโอเปีย Ethiopia
bulletทัวร์กานา Ghana
bulletทัวร์เคนย่า Kenya
bulletทัวร์แทนซาเนีย Tazania
bulletทัวร์ลิเบีย Libya
bulletทัวร์มาลี Mali
bulletทัวร์โมรอคโค Morocco
bulletทัวร์โมซัมบิก Mozambique
bulletทัวร์ตูนีเซีย Tunisia
bulletทัวร์เซเนกัล Senegal
bulletทัวร์สวาซิแลนด์ Swaziland
bulletทัวร์ยูกันดา Uganda
ทัวร์เรือสำราญ
bulletเรือสำราญ Arcadia Cruises
bulletเรือสำราญ Celebrity Cruises
bulletเรือสำราญ Costa Cruise
bulletเรือสำราญ MSC Cruises
bulletเรือสำราญ Princess Cruise
bulletเรือสำราญ Royal Caribean
bulletเรือสำราญ Star Cruises
bulletทัวร์เรือสำราญทั่วโลก world cruises
bulletอโรซ่า AROSA
bulletอเวลอน AVALON
ขั้นตอนการจองทัวร์และการชำระเงิน
ค้นหาข้อมูล ก่อนเดินทาง
ข่าวเด่น ประจำวัน
dot

dot


Facebook utravel.in.th

Line ID UTRAVEL
Line ID :  u.travel

 

 

Rabat
MOROCCO

 

เวลาประเทศไทย THAILAND








 

 



ทัวร์เอธิโอเปีย เที่ยวเอธิโอเปีย

ทัวร์ต่างประเทศ  :  เอธิโอเปีย ETHIOPIA

 ทัวร์เอธิโอเปีย  Tour Ethiopia  ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  ขอนำเสนอโปรแกรมทัวร์เอธิโอเปีย  เดินทางสู่ประเทศเอธิโอเปีย  ประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นแหล่งทองคำสีดำที่มีคุณภาพที่สุดในโลก  เอธิโอเปีย ประเทศที่เคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่แห้งแล้ง ยากจน ถึงขนาดผู้คนอดอยากจนถึงแก่ความตาย  แต่ปัจจุบันนี้  เอธิโอเปีย ได้รับการพัฒนา และเป็นประเทศที่เป็นที่สนใจของทั้งนักท่องเที่ยวทั่วโลก และ นักธุรกิจทุกชาติ  ต่างก็มุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศ เอธิโอเปีย Ethiopia

 สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย
Federal Democratic Republic of Ethiopia

ทัวร์เอธิโอเปีย :  ข้อมูลทั่วไป

แผนที่ประเทศ เอธิโอเปีย
Map of Ethiopia


แผนที่ประเทศ เอธิโอเปีย

 

ที่ตั้ง อยู่ในทวีปแอฟริกาตะวันออกบริเวณที่เรียกว่า จงอยแอฟริกา (Horn of Africa)
ทิศเหนือ ติดกับเอริเทรีย
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจิบูตี
ทิศตะวันออก ติดกับโซมาเลีย
ทิศใต้ ติดกับเคนยา
ทิศตะวันตก ติดกับซูดาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล

พื้นที่ 1,221,900 ตร.กม. (มีขนาดเป็น 2 เท่าของไทย)

เมืองหลวง กรุงแอดดิสอาบาบา (Addis Ababa)

ประชากร 77 ล้านคน (2555)

ภาษา Amarigna, Oromigna, Tigrigna, Somaligna,Guaragigna, อังกฤษ

ศาสนา คริสต์ร้อยละ 60.8 (ออร์โธดอกซ์ร้อยละ 50.6, โปรเตสแตนท์ร้อยละ 10.2) อิสลามร้อยละ 32.8 ความเชื่อดั้งเดิมร้อยละ 4.6 อื่นๆ ร้อยละ 1.8 

วันชาติ 28 พฤษภาคม

 

 ระบอบการปกครอง แบบสหพันธรัฐ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 รัฐ (States) และ 2 เขตปกครองพิเศษ (municipal councils) ได้แก่ เขตปกครองพิเศษแอดดิสอาบาบาและเขตปกครองพิเศษดิเรดาวา


 
ประธานาธิบดี นายกีร์มา โวลด์-จอร์จิส ลูชา (Girma Wolde-Giorgis Lucha) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 8 ตุลาคม 2544

 
นายกรัฐมนตรี นายไฮเลมาเรียม เดซาเลน (Hailemariam Desalegn) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 20 สิงหาคม 2555

 
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายเทดรอส อัดฮ์อะนูม เกอเบรเยซูส (Tedros Adhanom Ghebreyesus) เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 2555

 
หน่วยเงินตรา เบอร์เอธิโอเปีย (ETB) 1 ETB = 1.64 บาท (4 มิถุนายน 2556)

 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 39.6 พันล้าน USD (2555)

 
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,285 USD (2555)

 
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.5 (2555)

 
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 14.2 (2555)

 
เงินทุนสำรอง 3.48 พันล้าน USD (2555)

 
อุตสาหกรรมที่สำคัญ การแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม สิ่งทอ เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ การแปรรูปโลหะ ซีเมนต์

 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ กาแฟ ทอง ผลิตภัณฑ์จากหนัง สิ่งมีชีวิต เมล็ดพืช

 
สินค้านำเข้าที่สำคัญ อาหารและสิ่งมีชีวิต ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล ยานยนต์ ธัญพืช สิ่งทอ

 
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ส่งออกไปจีน เยอรมนี ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ซูดาน เบลเยียม นำเข้าจากจีน ซาอุดิอาระเบีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา

เว็บไซต์ทางการ www.ena.gov.et

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ประเทศเอธิโอเปียเป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่ สุดในทวีปแอฟริกาและเป็นดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากอียิปต์และกรีกตั้งแต่ สมัยโบราณ ดินแดนเอธิโอเปียก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เรียกว่า อบิสสิเนีย ปกครองโดยราชวงศ์เอธิโอเปีย ซึ่งได้รับการสถาปนาโดยพระเจ้าเมเนลิก พระราชโอรสของพระเจ้าโซโลมอนและพระนางชีบา

ในปี 2412 อิตาลีได้เข้ายึดครองแคว้นเอริเทรียของเอธิโอเปียและประกาศให้แคว้นเอริเทรี ยเป็นอาณานิคมของตนเมื่อปี 2433 แต่ในสนธิสัญญาสันติภาพอิตาลียังคงยอมรับเอกราชของเอธิโอเปียต่อไป เอธิโอเปียอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตรยิ์ไฮเล เซลัซซี (Haile Selassie) เป็นเวลากว่า 50 ปี โดย เซลัซซี ได้รับตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ (Regent) ในปี 2459 ต่อมาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี 2471

ปี 2479 อิตาลีได้รุกรานเอธิโอเปียและยึดเอธิโอเปีย เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์ และประกาศรวมกันเป็นแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม ในปี 2484 ภายใต้ความช่วยเหลือของกองทัพอังกฤษ กษัตริย์เซลัซซี สามารถยึดเอธิโอเปียคืนจากอิตาลีได้เป็นผลสำเร็จแต่อิตาลียังคงยึดแคว้นเอริ เทรียไว้ หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เอธิโอเปียได้เรียกร้องดินแดนเอริเทรียคืน และสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 380 A (V) ปี 2492 โดยให้เอริเทรียเป็นดินแดนปกครองของตนเองภายใต้จักรวรรดิเอธิโอเปีย แต่ต่อมาในปี 2505 เอธิโอเปียได้ทำการผนวกเอริเทรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในฐานะจังหวัด ที่ 14 และได้กลายเป็นชนวนการสู้รบระหว่างชาวเอริเทรียที่ต้องการเอกราชกับฝ่าย เอธิโอเปียเรื่อยมา จนกระทั่งปี 2536 รัฐบาลเอธิโอเปียยอมให้มีการลงประชามติเกี่ยวกับอนาคตการปกครองของประชาชนเอ ริเทรีย ซึ่งผลปรากฏว่า ประชามติเป็นเอกฉันท์ให้เอริเทรียแยกตัวออกจากเอธิโอเปีย
 

การเมืองการปกครอง

ในปี 2517 กลุ่มทหาร Provisional Military Administrative Council (PMAC) นำโดย พันเอก เมนกิซตุ ไฮลี มาริยาม (Colonel Mengistu Haile Mariam) ทำการปฏิวัติยึดอำนาจและโค่นล้มระบอบกษัตริย์ มาริยามรับเอาลัทธิมาร์กซิสต์และเลนิน (Marxist-Leninist ideology)มาใช้ในการปกครอง ซึ่งเป็นที่ไม่พอใจของนักวิชาการและผู้มีการศึกษาในระยะเวลาต่อมา ก่อให้เกิดการวิพากวิจารณ์จนกระทั่งก่อเป็นความรุนแรงขึ้นภายในประเทศ มาริยามใช้กำลังเข้าควบคุมสถานการณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงประมาณ 100,000 คนและอีกหลายร้อยคนอพยพออกนอกประเทศ 

ต่อมาในปี 2534 (ค.ศ. 1991) พรรค Ethiopian People's Revolutionary Democratic Front (EPRDF) ซึ่งนำโดยนายเมเลส เซนาวี (Meles Zenawi) ได้ยึดอำนาจทางการเมืองจากพันเอก เมนกิซตุ ไฮลี มาริยาม ได้สำเร็จและนับแต่นั้นมา EPRDF มีอิทธิพลอย่างสูงในการเมืองภายในประเทศเอธิโอเปีย โดยได้รับเลือกตั้งเป็นพรรครัฐบาลเสียงข้างมากในทุกสมัยการเลือกตั้ง ในปี 2538 (ค.ศ. 1995)  ปี 2543 (ค.ศ. 2000)  ปี 2548 (ค.ศ. 2005)  และล่าสุดปี 2553 (ค.ศ. 2010)

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 (ค.ศ. 2010) พรรค EPRDF ได้ที่นั่งในสภาร้อยละ 99 และนายเมเลส เซนาวี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 ติดต่อกัน ชัยชนะจากการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่า สถานะของรัฐบาลมีความมั่นคงอย่างมาก ส่วนฝ่ายค้านถูกจำกัดบทบาทและถูกควบคุมจนไม่สามารถเคลื่อนไหว

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555 นายเมเลส เซนาวี ถึงแก่อสัญกรรม และเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 นายไฮเลอมาเรียม เดอซาเลนย์ (Hailemariam Desalegn) ซึ่งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอธิโอเปียภายใต้นายเซนาวี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการสืบต่อจากนายเซนาวี และได้สาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 ภายหลังจากที่พรรค Ethiopian People’s Revolutionary Democratic Front (EPRDF) ของรัฐบาล ได้รับรองให้นายเดอซาเลนย์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจนกว่าจะมีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรครั้งต่อไปในปี 2558ล่าสุด นายเดอซาเลนย์ได้ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2555

เอธิโอเปียมีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ โครงสร้างการปกครองแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร ประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขของรัฐมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎรและอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 6 ปี การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2558 (ค.ศ. 2015) พรรครัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภาได้แก่ สภาแห่งสหพันธรัฐ (the House of Federation) ซึ่งเทียบเท่ากับวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร (House of People's Representatives

เอธิโอเปียแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 รัฐตามชนเผ่าในพื้นที่ และ 2 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ (1) รัฐ Tigray (2) รัฐ Afar (3) รัฐ Amhara (4) รัฐOromia (5) รัฐ Somali (Ogaden) (6) รัฐ Benishangul-Gumuz (7) รัฐ Southern Nations Nationalities and People Region (SNNPR) (8) รัฐ Gambella (9) รัฐ Harari (10) เขตการปกครองพิเศษกรุง Addis Ababa และ (11) เขตการปกครองพิเศษเมือง Dire Dawa

นโยบายต่างประเทศ
ในอดีตรัฐบาลทหารเผด็จการของเอธิโอเปียดำเนินนโยบายซ้ายจัดในกลุ่มนิยมสหภาพโซเวียต เพื่อรับการสนับสนุนด้านการทหารจากโซเวียตในการต่อต้านโซมาเลียและปราบปราม กบฏแบ่งแยกดินแดน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันรัฐบาลเอธิโอเปียได้ประกาศนโยบายเคารพสิทธิและความเท่าเทียมกัน ของรัฐ และการไม่แทรกแซงกิจการภายในของผู้อื่น เอธิโอเปียมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก นอกจากนี้ เอธิโอเปียเป็นพันธมิตรทางการเมืองของสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค Horn of Africa

ด้วยประเทศเอธิโอเปียไม่มีทางออกสู่ทะเลภายหลังเอริเทรียแยกเป็นเอกราช เอธิโอเปียจึงใช้จิบูตีเป็นเส้นทางออกทะเล โดยเอธิโอเปียและจิบูตีได้สัญญาอนุญาตให้บริษัทเดินเรือทะเลของเอธิโอเปียใช้ท่าเรือจิบูตี นอกจากนี้ มีเส้นทางรถไฟระหว่างจิบูตีและเมือง Dire Dawa ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเอธิโอเปีย และขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนขยายเส้นทางรถไฟไปยังกรุงแอดดิสอาบาบา

เอธิโอเปียมีนโยบาย Look East โดยต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชีย จีนได้เข้ามามีบทบาทมากในเอธิโอเปีย โดยเข้าไปดำเนินโครงการสร้างถนนตลอดจนสาธารณูปโภคต่างๆ นอกจากนี้ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ก็เข้าไปขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับเอธิโอเปียมากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เอธิโอเปียประสงค์ให้ร่วมเป็นหุ้นส่วน (partnership) ที่สำคัญของเอธิโอเปีย

เอธิโอเปียถือเป็นเมืองหลวงของแอฟริกา เนื่องจากเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสหภาพแอฟริกา (African Union - AU)  นอกจากนี้ เอธิโอเปียยังเป็นสมาชิกของกลุ่มตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa - COMESA) นอกจากนี้ เอธิโอเปียยังได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังนั้น การเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากับเอธิโอเปียจึงเป็นการเชื่อม ความสัมพันธ์ทางการค้ากับ COMESA ตลอดจนสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

 
ปัญหาข้อพิพาทระหว่างเอธิโอเปียกับเอริเทรีย
ภายหลังจากแคว้นเอริเทรียแยกตัวจากเอธิโอเปียเป็นรัฐอธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2536 (ค.ศ. 1993) รัฐบาลรักษาการของเอธิโอเปียกับรัฐบาลกลางเอริเทรียได้ทำความตกลงกันในด้าน การทหารและการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และการให้เสรีภาพแก่ประชาชน การขนส่งสินค้าและการบริการผ่านดินแดนของกันและกัน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างสิทธิในการครอบครองดินแดนบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ ในดินแดนที่เรียกว่า Badme เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความบาดหมางอย่างรุนแรงระหว่างเอธิโอเปียและเอริเทรีย

การปะทะกันเพื่อแย่งชิงดินแดน Badme เริ่มขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 (ค.ศ. 1998) โดยทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าเป็นฝ่ายเริ่มใช้อาวุธโจมตีก่อน องค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา และองค์การเอกภาพ แอฟริกา (Organization of African Unity - OAU ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น African Union) ได้พยายามเข้า ไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทและการสู้รบของทั้งสองประเทศหลายครั้ง จนกระทั่ง เอธิโอเปียและเอริเทรีย ได้ยุติสงครามอย่างเป็นทางการด้วยการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างกัน เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 (ค.ศ. 2000) และได้จัดตั้ง Eritrea-Ethiopia Boundary Commission (EEBC) ภายใต้อาณัติของ Permanent Court of Arbitration เพื่อตกลงการแบ่งเขตดินแดนกันโดยสันติวิธี

อย่างไรก็ดี ทั้งเอธิโอเปียและเอริเทรียต่างก็ไม่ยอมรับการตัดสินชี้ขาดของ EEBC และยังมีการปะทะกันตามแนวชายแดนอยู่เนืองๆ ใขขณะเดียวกัน องค์การสหประชาชาติก็พยายามลดขนาดของกองกำลังรักษาสันติภาพ (UN Mission in Ethiopia and Eritrea - UNMEE) เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าเจรจาร่วมกัน และยุติการทำงานของ UNMEE เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2551 (ค.ศ. 2008) แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ

 
บทบาทของเอธิโอเปียในโซมาเลีย
เอธิโอเปียได้เข้าไปข้องเกี่ยวกิจการภายในโซมาเลียมาช้านาน โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ทั้งสองประเทศได้ทำสงครามแย่งเขตแดนกันบ่อยครั้ง อย่างไรก็ดี รัฐ Ogaden ของเอธิโอเปียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเชื้อชาติกับประชากรของโซมาเลีย ดังนั้น เอธิโอเปียจึงยังพยายาม ใช้นโยบายควบคุมความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มต่างๆ ในโซมาเลีย ทั้งรัฐบาลรักษาการณ์โซมาเลีย Transitional Federal Government-TFG) และสนับสนุนรัฐ Somaliland และ Puntland  ซึ่งเป็นดินแดนอิสระในโซมาเลีย

ในเดือนธันวาคม 2549 (ค.ศ. 2006) กองกำลังทหารของเอธิโอเปียได้รุกเข้าไปในโซมาเลียเพื่อโค่นล้มกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง (Union of Islamic Court - UIC) ซึ่งได้ยึดอำนาจทางภาคใต้ของโซมาเลียเกือบทั้งหมดไว้ตั้งแต่ต้นปี 2549 (ค.ศ. 2006) โดยเอธิโอเปียอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงและการก่อการร้ายโดยกลุ่ม UIC ซึ่งคุกคามต่อความมั่นคงของเอธิโอเปีย อย่างไรก็ดี ในเดือนสิงหาคม 2550 (ค.ศ. 2007) สหภาพแอฟริกา (African Union - AU) ได้ส่งกองกำลังทหารเข้าร่วมรักษาสันติภาพในโซมาเลีย และเมื่อนาย Sheikh Sharif Sheikh Ahmed ผู้นำกลุ่ม UIC ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีเมื่อเดือนมกราคม 2552 (ค.ศ. 2009) เอธิโอเปียจึงมีบทบาทในโซมาเลียลดลง

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ทั่วไป
ด้านการเมือง
ไทยมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับเอธิโอเปีย โดยไทยเห็นความสำคัญของเอธิโอเปียในฐานะเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่สหภาพ แอฟริกาและเป็นเสมือนเมืองหลวงของทวีปนี้ รวมทั้งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญใน Horn of Africa ส่วนเอธิโอเปียเห็นความสำคัญของไทยในฐานะมิตรประเทศที่เป็นตัวอย่างในการพัฒนา

 
ด้านการทูต
ไทยและเอธิโอเปียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2507 (ค.ศ. 1964) และในปีเดียวกันไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแอดดิสอาบาบา แต่ต่อมาในปี 2524 (ค.ศ. 1981) ไทยได้ปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแอดดิสอาบาบาลง เนื่องจากความไม่สงบภายในเอธิโอเปีย ปัจจุบัน ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโรมีเขตอาณาครอบคลุมเอธิโอเปีย ในขณะที่เอธิโอเปียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตเอธิโอเปียประจำสาธารณรัฐอินเดีย มีเขตอาณาครอบคลุมไทย

 
ด้านเศรษฐกิจ
การค้า
ปริมาณการค้าระหว่างไทยกับเอธิโอเปียเติบโตขึ้นเป็นลำดับ โดยส่วนใหญ่ไทยส่งออกมากกว่าการนำเข้า จึงอยู่ในฐานะได้เปรียบดุลการค้าตลอดมา สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ น้ำตาลทราย เม็ดพลาสติก ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้า ได้แก่ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ การค้าระหว่างไทยและเอธิโอเปียในปี 2554 (ค.ศ. 2011) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 81.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นสินค้าส่งออกจากไทยมูลค่า 72.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าสินค้าเป็นมูลค่า 9.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้า 62.54ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 
การลงทุน
ปัจจุบันไม่ปรากฏข้อมูลการลงทุนระหว่างกัน

 
การท่องเที่ยว
ชาวเอธิโอเปียเดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นจาก 8,997 คน ในปี 2552 (ค.ศ. 2009) เป็น 15,129 คน ในปี 2553 (ค.ศ. 2010) เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.1 โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์รับการบริการด้านสุขภาพในไทย เนื่องจากไทยมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลและการบริการที่มีคุณภาพที่ดี ค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก มีสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ ที่บินตรงมาไทย และสามารถสามารถขอรับการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง  ในปัจจุบัน โรงพยาบาลเอกชนไทย 5 แห่ง (บำรุงราษฏร์ พญาไท เวชธานี กรุงเทพ และปิยะเวท) ได้ตั้งสำนักงานผู้แทนที่กรุงแอดดิสอาบาบา

 
ด้านวิชาการ
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศเอธิโอเปีย ในรูปของทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติประจำปี (Annual International Training Course: AITC) 

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
ไทยและเอธิโอเปียได้ลงนามความตกลงทางด้านการบริการเดินอากาศเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 ในปัจจุบันสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (Ethiopian Airline) มีเที่ยวบินตรงระหว่างไทย-เอธิโอเปียสัปดาห์ละ 7 เที่ยว นอกจากนี้ ไทยและเอธิโอเปียได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2551 ระหว่างการประชุมสมัชชาอนามัยโลกที่นครเจนีวา สมัยที่ 61

ความตกลงที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ได้แก่ ความตกลงส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนและความตกลงเว้นการเก็บภาษีซ้อน ซึ่งฝ่ายเอธิโอเปียประสงค์จะทำความตกลงดังกล่าว และฝ่ายไทยได้ส่งร่างมาตรฐานให้ฝ่ายเอธิโอเปียพิจารณา

การเยือนของผู้นำระดับสูง
ไทยและเอธิโอเปียยังไม่เคยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างเป็นทางการ แต่ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ได้พบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเอธิโอเปีย (นาย Seyoum Mesfin) ระหว่างการประชุม AU Summit เมื่อปี 2549 และนาย Mesfin ยังได้แวะผ่านไทยอย่างไม่เป็นทางการหลายครั้ง

คณะจากเอธิโอเปียจำนวน 3 คน ประกอบด้วย 1. H.E. Mr. Fikru Desalegne, State Minister, Ministry of Capacity Building of the Federal Democratic 2. Dr. Hailemichael Aberra, President of the Civil Service College of Ethiopia และ 3. Dr. Negussie Negash, Coordinator in the Civil Service College of Ethiopia ได้เดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับ Public administration ซึ่งจัดโดยสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Institute for the Promotion of Good Governance) เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 51

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา นายเซยุม เมสฟิน (H.E. Mr. Seyoum Mesfin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือกับนายพิษณุ จันทร์วิทัน อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ณ กระทรวงการต่างประเทศ
 

 




แอฟริกา AFRICA

ทัวร์แอฟริกา
11 วัน มาดากัสการ์ – มอริเชียส – รียูเนียน
ทัวร์กานา TOUR GHANA
ทัวร์เคนย่า แพคเกจทัวร์เคนย่า เที่ยวเคนย่าซาฟารี ทัวร์เคนย่าตลาดบน
ทัวร์เคนย่าซาฟารี 8 วัน 5 คืน
KE121101YZ-Safari Kenya 8 Days 5 Nights Kenya Airways flight by July - December 2560
ทัวร์แทนซาเนีย เที่ยวแทนซาเนีย
ทัวร์ตูนิเซีย เที่ยวตูนีเซีย แลนด์ทัวร์ตูนีเซีย ชำนาญทัวร์ตูนีเซีย
ทัวร์โมรอคโค อยู่ดี กินดี พัก 5 ดาว ปี 2567 เจาะลึกโมร็อกโก โดยคุณเส็ง ผู้ชำนาญทัวร์โมรอคโค article
ทัวร์ยูกันดา อูกานดา Uganda
ทัวร์อียิปต์ ปี 2567 ทัวร์คุณภาพ พัก 5 ดาว ล่องเรือสำราญสุดหรูตามลำน้ำไนล์ โดยผู้ชำนาญทัวร์อียิปต์
ทัวร์โมซัมบิก เที่ยวโมซัมบิก Mozambique
ทัวร์แอฟริกาใต้ ข้อมุูลเที่ยวแอฟริกาใต้ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
AF121203BZ_SOUTH_AFRICA_11D8N_by_SQ_2017
ทัวร์เซเนกัล
ทัวร์ลิเบีย
ทัวร์มาลี
ทัวร์แอลจีเรีย แลนด์แอลจีเรีย ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
ทัวร์สวาซิแลนด์
โปรแกรม 8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส RE15150908MZ
8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส
โปรแกรม 10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย KT15151010YZ
10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย 2019
ทัวร์คองโก – ยูกันดา – รวันดา – บุรุนดี 12 วัน