dot
ค้นหารายการทัวร์

dot
คอลเซ็นเตอร์
รายการทัวร์ในทวีปเอเชีย
bulletทัวร์จีนChina
bulletทัวร์ญี่ปุ่น Japan
bulletทัวร์เกาหลีเหนือ North Korea
bulletทัวร์เกาหลีใต้ South Korea
bulletทัวร์ไต้หวัน Taiwan
bulletทัวร์ฮ่องกง Hong Kong
bulletทัวร์มาเก๊า Macao
bulletทัวร์เวียดนาม Viet Nam
bulletทัวร์บรูไน Brunei
bulletทัวร์มาเลเซีย Malaysia
bulletทัวร์พม่า Myanmar
bulletทัวร์ลาว Tour Lao
bulletทัวร์อินเดีย India
bulletทัวร์ศรีลังกา Sri Lanka
bulletมองโกเลีย Mongolia
bulletทัวร์ภูฏาน Bhutan
bulletทัวร์ปากีสถาน Pakistan
bulletทัวร์เนปาล Nepal
bulletทัวร์ฟิลลิปปินส์Philippines
bulletทัวร์สิงค์โปร์ (Singapore)
bulletทัวร์อินโดนีเซีย Indonesia
bulletทัวร์คาซัคสถาน Kazakhstan
bulletทัวร์เติร์กเมนิสถาน Turkmenistan
bulletทัวร์อุซเบกิสถาน Uzbekistan
bulletทัวร์ทรานไซบีเรีย Tran siberia
bulletทัวร์จอร์เจีย Georgia
bulletทัวร์อาเซอร์ไบจัน Azerbaijan
bulletทัวร์อาร์เมเนีย Armenia
รายการทัวร์ในทวีปยุโรป
bulletทัวร์ยุโรป Tour Europe
bulletทัวร์ยุโรปตะวันออก East Europe
bulletทัวร์สแกนดิเนเวีย Scandinavia
bulletทัวร์ไอซ์แลนด์ - Iceland
bulletทัวร์กรีนแลนด์ Greenland
bulletทัวร์บอลติก Baltic
bulletทัวร์บอลข่าน Balkans
bulletทัวร์อังกฤษ Great Britain
bulletทัวร์รัสเซีย Russia
bulletทัวร์สวิตเซอร์แลนด์ Switzerland
bulletทัวร์อิตาลี Italy
bulletทัวร์โรมาเนีย Romania
bulletทัวร์กรีซ Greece
bulletทัวร์โครเอเซีย Croatia
bulletทัวร์สเปน โปรตุเกส Spain-Portugues
bulletทัวร์ยูเครน Ukraine
bulletทัวร์มอนเตเนโกร Montenegro
bulletทัวร์บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา
bulletทัวร์เซอร์เบีย Serbia
ทัวร์อเมริกา
bulletทัวร์อเมริกา America
bulletทัวร์แคนาดา Canada
bulletทัวร์อเมริกาใต้ South America
bulletทัวร์เม็กซิโก Mexico
bulletทัวร์คิวบา Cuba
bulletทัวร์ชิลี Chile
bulletทัวร์เอกวาดอร์ Ecuador
bulletทัวร์เปรู Peru
bulletทัวร์เวเนซูเอล่า Venezuela
รายการทัวร์ในทวีปออสเตรเลีย
bulletทัวร์ออสเตรเลีย Australia
bulletทัวร์นิวซีแลนด์ New Zealand
รายการทัวร์ในตะวันออกกลาง
bulletทัวร์คูเวต Kuwait
bulletทัวร์จอร์แดน Jordan
bulletทัวร์ซีเรีย Syria
bulletทัวร์ดูไบ Dubai
bulletทัวร์ตุรกี Turkey
bulletทัวร์บาห์เรน Bahrain
bulletทัวร์เยเมน Yemen
bulletทัวร์เลบานอน Lebanon
bulletทัวร์อิรัค Iraq
bulletทัวร์อิหร่าน Iran
bulletทัวร์อิสราเอล Israel
bulletทัวร์โอมาน Oman
รายการทัวร์ในทวีปแอฟริกา
bulletทัวร์แอฟริกา Tour Africa
bulletทัวร์แอฟริกาใต้ South Africa
bulletทัวร์แอลจีเรีย Algeria
bulletทัวร์อียิปต์ Egypt
bulletเอธิโอเปีย Ethiopia
bulletทัวร์กานา Ghana
bulletทัวร์เคนย่า Kenya
bulletทัวร์แทนซาเนีย Tazania
bulletทัวร์ลิเบีย Libya
bulletทัวร์มาลี Mali
bulletทัวร์โมรอคโค Morocco
bulletทัวร์โมซัมบิก Mozambique
bulletทัวร์ตูนีเซีย Tunisia
bulletทัวร์เซเนกัล Senegal
bulletทัวร์สวาซิแลนด์ Swaziland
bulletทัวร์ยูกันดา Uganda
ทัวร์เรือสำราญ
bulletเรือสำราญ Arcadia Cruises
bulletเรือสำราญ Celebrity Cruises
bulletเรือสำราญ Costa Cruise
bulletเรือสำราญ MSC Cruises
bulletเรือสำราญ Princess Cruise
bulletเรือสำราญ Royal Caribean
bulletเรือสำราญ Star Cruises
bulletทัวร์เรือสำราญทั่วโลก world cruises
bulletอโรซ่า AROSA
bulletอเวลอน AVALON
ขั้นตอนการจองทัวร์และการชำระเงิน
ค้นหาข้อมูล ก่อนเดินทาง
ข่าวเด่น ประจำวัน
dot

dot


Facebook utravel.in.th

Line ID UTRAVEL
Line ID :  u.travel

 

 

Rabat
MOROCCO

 

เวลาประเทศไทย THAILAND








 

 



ทัวร์ลิเบีย

ทัวร์ต่างประเทศ : ประเทศลิเบีย
ทัวร์ลิเบีย  Tour Libya

ทัวร์ลิเบีย Tour Libya  ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  ผู้บุกเบิกการท่องเที่ยวทัวร์แหล่งอารยธรรมโลก  ขอเสนอรายการทัวร์ลิเบีย  สำหรับผู้ที่รักการท่องเที่ยวและต้องการศึกษาแหล่งอารยธรรมโบราณ

สืบเนื่องจากการปฎิวัติดอกมะลิที่ลุกลาของโลกอาหรับ หรือที่เรียกว่า อาหรับสปริง ทำให้สถานการณ์ในประเทศลิเบียไม่สงบ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว  ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  จึงขอหยุดเสนอรายการทัวร์ลิเบียไว้เป็นการชั่วคราว  เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ
ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  จะขอนำเสนอโปรแกรมทัวร์ลิเบีย  ที่น่าสนใจ และน่าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเทสลิเบีย มานำเสนอแก่ท่าน


View แผนที่ทัวร์ลิเบีย TOUR LIBYA MAP in a larger map

ทัวร์ลิเบีย ข้อมูลทัวร์ลิเบีย

สถานที่น่าสนใจในประเทศลิเบีย Libya

Archaeological Site of Sabratha (แหล่งโบราณคดีซาบราธา)  ซาบราธา เป็นสถานีการค้าของฟีนีเชียซึ่งเป็นที่ส่งออกสินค้าจากดินแดนตอนในของแอฟริกา เมืองนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมาสสินิสซาแห่งนูมิเดีย (Numidian Kingdom of Massinissa) ที่ดำรงอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกโรมันยึดครองและสร้างขึ้นใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒-๓ (พุทธศตวรรษที่ ๗-๘)

Archaeological Site of Cyrene (แหล่งโบราณคดีซีเรเน)  เมืองซีเรเนได้รับอิทธิพลโรมันและคงความเป็นนครหลวงอันยิ่งใหญ่จนประสบเหตุแผ่นดินไหวในปี คริสต์ศักราช ๓๖๕ (พุทธศักราช ๙๐๘) ประวัติศาสตร์อันยาวนานเป็นพัน ๆ ปีของเมืองนี้ ปรากฏอยู่ในร่องรอยของซากโบราณสถานอันมีชื่อเสียงมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ (พุทธศตวรรษที่ ๒๓)

Rock-Art Sites of Tadrart Acacus (แหล่งศิลปะถ้ำแห่งทาดราร์ท อคาคัส)  มรดกโลกแหล่งนี้ตั้งอยู่ที่ชายแดนติดกับทาสสิลี นาจเจอร์ในแอลจีเรียซึ่งเป็นมรดกโลกเช่นกัน ทาดราร์ท อคาคัสประกอบด้วยศิลปะภาพวาดบนผนังถ้ำนับพัน ๆ ชิ้นซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก และมีอายุสมัยตั้งแต่ ๑๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึงคริสต์ศักราช ๑๐๐ (ประมาณ ๑๑,๕๐๐ ปีก่อนพุทธศักราช - พุทธศักราช ๖๔๓) ภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสัตว์และพืชพันธุ์ รวมถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในภูมิภาคนี้ของทะเลทรายซะฮาราที่เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นสู่รุ่น

Old Town of Ghadamès (เมืองเก่าฆาดาเมส)  ฆาดาเมส อันเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ไข่มุกแห่งทะเลทราย” ตั้งอยู่ในโอเอซิส เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในยุคก่อนซะฮารา (pre-Saharan) และเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของชุมชนแบบดั้งเดิม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยคือการจัดวางพื้นที่ใช้สอยทางตั้ง ได้แก่ ชั้นพื้นดินเป็นที่เก็บของและเสบียงอาหาร ชั้นเหนือขึ้นไปเป็นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัว ซึ่งยื่นออกมาคลุมทางเดิน ทำให้เกิดโครงข่ายเส้นทางที่เกือบจะเรียกได้ว่าเป็นทางใต้ดิน และที่ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้าเปิดโล่งซึ่งสงวนไว้สำหรับสตรีโดยเฉพาะ

เรามีความชำนาญและเข้าใจวัฒนธรรมของชาวอาหรับ รู้ลึกรู้จริงในการทำทัวร์ลิเบียและทัวร์ประเทศแถบแอฟริกา และประเทศในตะวันออกกลาง เพื่อบริการนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ได้สัมผัสถึงอารยธรรมโบราณซึ่งมีประวัติศาสตร์อันน่าสนใจ 

 ข้อมูลประเทศลิเบีย  Libya  ليبيا  (อาหรับ)

ลิเบีย Libya

ข้อมูลทั่วไป

 ที่ตั้ง                           เหนือสุดของทวีปแอฟริกา
ทิศเหนือ                     ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้  ติดกับไนเจอร์ ทิศใต้ติดกับชาดและซูดาน
ทิศตะวันออก              ติดกับอียิปต์
ทิศตะวันตก                 ติดกับตูนิเซียและแอลจีเรีย
พื้นที่ 1,759,540 ตารางกิโลเมตร




แผนที่ประเทศลิเบีย  Libya Mapภูมิอากาศ โดยทั่วไปมีอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย อุณหภูมิเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส ด้านเหนือสุดมีอากาศเย็นคล้ายคลึงกับภูมิภาคแถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ขณะที่บริเวณตอนกลางด้านในประเทศมีอากาศร้อนแบบทะเลทราย

เมืองหลวง ตริโปลี (Tripoli)

ประชากร  6,733,620 คน (กรกฎาคม ปี 2555)

าสนา ร้อยละ 97 ของประชากร นับถือศาสนาอิสลาม ฝ่ายสุหนี่ สำนักมาลิกี นอกนั้น นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก และนิกายอื่นๆ

ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ มีการใช้ภาษาต่างประเทศ ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในเมืองใหญ่ต่างๆ ด้วย 

นายกรัฐมนตรี นายอะลี ไซดัน (Ali Zeidan)

วันชาติ 17 กุมภาพันธ์ 

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 16 มีนาคม 2520

หน่วยเงินตรา ดีนาร์ลิเบีย (1 ลิเบียดินาร์ ประมาณ 24.73 บาท - ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2556)

GDP 87.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555)

GDP per Capita 13,300 USD (2555)

Real GDP Growth ร้อยละ 121.9 (2555)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 3.6  (2555)

เว็บไซต์ทางการ www.gpc.gov.ly

การเมืองการปกครอง
ลิเบีย อยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไตน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุด ตั้งแต่ปี 2454 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2492 สมัชชาใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติจึงได้มีข้อมติให้ ลิเบีย ได้รับเอกราชจาก อิตาลี ทั้งนี้ กษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้นำในการเจรจาจนนำไปสู่การประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2494 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 กลุ่มนายทหารนำโดยพันเอกกัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ Idris และขึ้นเป็นผู้นำประเทศสืบมาจนปัจจุบัน

นับแต่พันเอกกัดดาฟี ขึ้นปกครองประเทศ ได้ดำเนินนโยบายตามแนวทางการเมืองของตนซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสากลที่ 3 (Third Universal Theory) อันเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางสังคมนิยมกับแนวคิดของศาสนาอิสลาม รวมทั้งดำเนินแนวทางต่อต้านชาติตะวันตก เช่น การปิดสำนักงานของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรในลิเบีย การผลักดันให้สหรัฐฯ และอังกฤษถอนทหารที่ประจำอยู่ในลิเบียออกนอกประเทศ และการเวนคืนกิจการน้ำมันของชาติตะวันตก เป็นต้น ขณะเดียวกัน ลิเบียได้ขยายความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต ในด้านการเมือง การทหาร และการซื้ออาวุธ

พ.อ. กัดดาฟีได้ปกครองลิเบียในรูปแบบสังคมนิยมและอำนาจนิยม โดยวางตัวผู้ใกล้ชิด เครือญาติ และผู้นำเผ่าที่ภักดีต่อตนในตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงและมีความสำคัญ อาทิ ผู้นำทางการทหาร นอกจากนี้ พ.อ. กัดดาฟียังใช้ยุทธศาสตร์การสร้างสมดุลทางอำนาจ (Balance of Power) การสร้างความ
มั่งคั่งให้แก่ระบอบ รวมทั้งสร้างกองทัพของตนให้เข้มแข็ง ในขณะที่ทำให้กองทัพประจำอ่อนแอเพื่อป้องกันการก่อการรัฐประหาร

ลิเบีย เคยถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย โดยเฉพาะแก่กลุ่มต่างๆ ของปาเลสไตน์ เมื่อปี 2512 สหรัฐอเมริกา ได้บรรจุลิเบียไว้ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย (state sponsor of terrorism) ทั้งนี้ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญ ซึ่งลิเบียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มปาเลสไตน์ที่กรุงโรมและกรุงเวียนนาเมื่อปี 2528 และการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิง La Belle ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 2529 เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ และทางทหารกดดันลิเบียให้ยุติ การสนับสนุนการก่อการร้าย และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้สั่งการให้กองเรือรบสหรัฐอเมริกา เข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเกิดการปะทะกับฝ่ายลิเบีย 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2529 พร้อมทั้งได้ส่งเครื่องบินรบเข้าทิ้งระเบิดกรุงตริโปลี และเมืองเบงกาซีด้วย ลิเบียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมเครื่องบิน 2 ครั้ง ได้แก่ การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบินที่ 103 เหนือเมือง Lockerbie ของสก็อตแลนด์ในปี 2531 และการวางระเบิดสายการบิน UTA เที่ยวบินที่ 772 ของฝรั่งเศสที่ไนเจอร์ในปี 2532 แต่ลิเบียปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียให้แก่สหรัฐอเมริกาและสห ราชอาณาจักร ทำให้ต่อมาในปี 2535 และ 2536 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 748 (1992) และ 883 (1993) คว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งมีมาตรการต่างๆ รวมทั้ง การอายัดทรัพย์ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของลิเบียในต่างประเทศ การห้ามการขายเครื่องบินและยุทธภัณฑ์แก่ลิเบีย การห้ามส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในการขนส่งและกลั่นน้ำมันแก่ลิเบีย และการเรียกร้องให้นานาประเทศลดระดับและจำนวนผู้แทนทางการทูตในลิเบีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ได้ออกกฎหมาย Iran-Libya Sanctions Act หรือ D' Amato Act ในปี 2539 ห้ามบริษัทต่างประเทศลงทุนในภาคน้ำมันในลิเบียในโครงการมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และหันไปใช้แนวทางโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมระหว่างประเทศ

ลิเบีย เริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองของตนในปี 2546 โดยได้ยินยอมมอบตัวนาย Abdelbaset Ali Mohamed al-Megrahi และนาย Al Amin Khalifa Fhimah ผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียในคดี Lockerbie ไปขึ้นศาลที่เนเธอร์แลนด์ และเมื่อศาลได้ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตนาย Megrahi แล้ว (นาย Fhimah ถูกตัดสินให้พ้นผิด) ลิเบียได้แสดงความรับผิดชอบโดยจ่ายเงินสินไหมทดแทนแก่ญาติของผู้เสียชีวิต รวมเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรลิเบียเมื่อ เดือนกันยายน 2546 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 พันเอกกัดดาฟี ได้ประกาศยุติโครงการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction - WMD) และประกาศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty) และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention) พร้อมทั้งยินดีที่จะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการประกาศต่อต้านการก่อการร้ายและให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งอิตาลีและสหราชอาณาจักรหันไปฟื้นฟูความ สัมพันธ์กับลิเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตามกฎหมาย D' Amato Act ต่อลิเบียในปี 2547 และถอนชื่อลิเบียออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สหรัฐฯ ยังได้ยกระดับสำนักงานประสานงาน (Liasison Office) ของสหรัฐฯ ในลิเบีย ขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ลิเบียก็ได้ยกระดับสำนักงานประสานงานของตนในกรุงวอชิงตันขึ้นเป็นสถาน เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549

เมื่อปี 2554 ลิเบียได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญ จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญหลายครั้งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์กระแสการชุมนุมประท้วงและความไม่สงบทางเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งนำไปสู่การสู้รบและสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลของพ.อ. กัดดาฟี กับกลุ่มต่อต้านซึ่งได้รวมตัวและจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่เรียกว่า National Transitional Council (NTC) จากความสำเร็จของการชุมนุมประท้วงขับไล่ผู้นำในตูนิเซียและอียิปต์เป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนชาวลิเบียลุกขึ้นมาต่อต้านการปกครองของ พ.อ. กัดดาฟี ซึ่งปกครองแบบอำนาจนิยมมายาวนานกว่า 42 ปี และสามารถโค่นล้มระบอบการปกครองของ พ.อ. กัดดาฟีได้สำเร็จ

นานาชาติมีบทบาทในการสู้รบในลิเบียนับตั้งแต่การรับรองข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 1973 (2011) โดยกองกำลังผสมนานาชาติ นำโดยกองกำลังรัฐสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization – NATO) เข้าโจมตีลิเบียและสนับสนุน NTCในการสู้รบ สถานการณ์การสู้รบได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554 กองกำลังของ NTC ปฏิบัติการเข้ายึดกรุงตริโปลีได้สำเร็จ และสามารถยึดเมืองต่าง ๆ ไว้ในการควบคุม และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 กองกำลังของ NTC สามารถยึดเมือง Sirte ซึ่งเป็นเมืองบ้านเกิดของ พ.อ. กัดดาฟีได้โดยสมบูรณ์ และได้จับกุมตัว พ.อ. กัดดาฟีในสภาพถูกยิงที่ศีรษะเสียชีวิต


เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2555 NTC ได้จัดให้มีพิธีการประกาศอิสรภาพลิเบีย (Liberation of Libya) เพื่อเฉลิมฉลองการสิ้นสุดระบอบการปกครองของ พ.อ. กัดดาฟี โดยนายมุสตาฟา อับดุล จาลีล (Mustaf Abdul Jalil) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมลิเบีย ในฐานะเป็นประธานรักษาการ (Interim President) เป็นผู้นำในพิธีฯ

ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การสู้รบในลิเบียเช่นกัน โดยเฉพาะแรงงานไทยซึ่งทำงานอยู่ในลิเบียกว่า 10,000 คน ที่รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลืออพยพออกจากลิเบีย นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลี จำเป็นต้องย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวที่เมืองเจอร์บา (Djerba) ประเทศตูนิเซียเป็นเวลาเกือบ 1 ปี อย่างไรก็ดี ในด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีไทยกับลิเบีย ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลิเบีย เนื่องจากไทยมีพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีกับลิเบีย การสู้รบในลิเบีย ประเทศไทยได้วางท่าทีเป็นกลางมาโดยตลอด เนื่องจากไทยไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการสู้รบ หรือจากการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะหรือแพ้ และเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2554 ประเทศไทยได้ประกาศรับรองสถานะ NTC เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของลิเบีย (legitimate representative)

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2555 ลิเบียได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จำนวน 200 คน โดยแบ่งเป็นที่นั่งสำหรับผู้สมัครอิสระ ๑๒๐ คน และสังกัดกลุ่มองค์กรทางการเมืองอีก 80 คน (เนื่องจากลิเบียยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง จึงเรียกว่ากลุ่มองค์กรทางการเมืองแทน – political entities) โดยหากแบ่งจำนวนผู้แทนตามภูมิภาค โดยมีผู้แทนจากภาคตะวันตก 100 ที่นั่ง (กรุงตริโปลีเป็นเมืองหลัก) ภาคตะวันออก 60 ที่นั่ง (เมืองเบนกาซีเป็นเมืองหลัก) และภาคใต้ 40 ที่นั่ง
โดยสภาฯ ทำหน้าที่หลัก 3 ประการ ได้แก่ การแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการณ์เพื่อบริหารประเทศเป็นเวลา 1 ปี การจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยผู้แทน 60 คน จากภาคตะวันตก ภาคตะวันออก
และภาคใต้ ภูมิภาคละ 20 คน เพื่อให้ทุกภูมิภาคมีเสียงเท่าเทียมกัน และหลังจากการลงประชามติของประชาชน ก็จะใช้รัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานในการกำหนดรูปแบบการปกครองและจัดการเลือกตั้งทั่วไป (ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นประมาณปลายปี 2556

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555 สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เลือกมูฮัมหมัด ยูซุฟ อัล มาการีฟ (Mohamed Yousef El-Magariaf) ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายมาการีฟมีประสบการณ์เป็นนักการทูตสมัยรัฐบาล พ.อ. กัดดาฟี แต่ได้แปรพักตร์เพื่อต่อต้านระบอบกัดดาฟีตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ แต่เมื่อมีการออกกฎหมาย Political Isolation Law ซึ่งมีบทบัญญัติหนึ่งห้ามมิให้บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาลกัดดาฟีดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาลปัจจุบัน ทำให้นายมาการีฟ ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตลิเบียประจำอินเดียในสมัยกัดดาฟีตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานรัฐสภาแห่งชาติ และต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556 นายนูรีย์ อาบู ซะห์เมน (Nouri Abu Sahmain) ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานรัฐสภาแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจและสังคม
ลิเบีย เป็นประเทศที่นับได้ว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือ เศรษฐกิจของลิเบียขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในปี 2549 มีปริมาณการผลิตน้ำมันวันละ 1.72 ล้านบาร์เรล (ลิเบียตั้งเป้าหมายจะผลิตน้ำมันให้ได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี 2553) การส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 95 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP เศรษฐกิจภาคพลังงานมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยเฉพาะหลังจากที่สหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อ ลิเบียในปี 2546 และหลังจากที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรต่อลิเบียในปี 2547 บริษัทน้ำมันต่างประเทศ เช่น บริษัท Occidental และกลุ่มบริษัท OASIS ของสหรัฐอเมริกา บริษัทของสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ ได้เข้าไปรับสัมปทานการสำรวจและผลิตน้ำมันในลิเบีย นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการให้บริษัทต่างประเทศเข้าไปลงทุนในโครงการสำรวจและผลิตก๊าซ ธรรมชาติ และการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ด้านนี้ ได้แก่ Western Libya Gas Project มูลค่าการลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยร่วมลงทุนกับบริษัท Eni ของอิตาลี ทั้งนี้ บริษัท ปตท. สผ. (มหาชน) จำกัดได้เข้าแข่งขันการประกวดราคา เพื่อขอรับสัมปทานแปลงสำรวจในลิเบียด้วย แต่ไม่ชนะการประกวดราคา

เมื่อปี 2554 การผลิตน้ำมันของลิเบียชะลอและระงับการผลิตไประยะหนึ่งจากสถานการณ์การสู้รบในประเทศ อย่างไรก็ดี บริษัทน้ำมันต่าง ๆ โดยเฉพาะจากยุโรป ได้กลับเข้าไปดำเนินโครงการตั้งแต่ปลายปี 2554 แล้ว และปัจจุบันลิเบียสามารถผลิตน้ำมันเพื่อส่งออกได้เท่ากับช่วงก่อนสงครามแล้ว ประมาณ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน

นับแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ลิเบียได้พยายามใช้แผนการพัฒนาที่มุ่งขยายฐานทางเศรษฐกิจ (diversification) เพื่อลดการพึ่งพาภาคน้ำมัน รวมทั้งส่งเสริมภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันลิเบียยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ

นับแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อรัฐบาลมีรายได้จากภาคน้ำมันมากขึ้น ได้ให้ความสนใจการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ น้อยลง และมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure)

นอกจากนั้น ยังมีนโยบายส่งเสริมระบบตลาดเสรี โดยมีแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทั้งนี้ โครงการด้านเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ โครงการแม่น้ำเทียม (Great Man-made River Project) ความยาว 3,000 กิโลเมตร เพื่อนำน้ำจากแอ่งน้ำจากภาคใต้ของประเทศ ไปยังแหล่งเกษตรกรรมในภาคเหนือ โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2527 ขณะนี้ใช้งบประมาณดำเนินการแล้ว 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมหนัก การผลิตกระแสไฟฟ้าและการกลั่นน้ำจากน้ำทะเล (Desalination) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งลิเบียมีศักยภาพที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทางโบราณคดี การท่องเที่ยวทางทะเล และ ทะเลทราย

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ลิเบียได้สมัครเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) และได้เริ่มปรับปรุงกฎและระเบียบทางเศรษฐกิจ การค้า ตามหลักเกณฑ์ของ WTO เช่น มาตรการด้านภาษี และการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาท และส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ภายหลังสงครามกลางเมืองสิ้่นสุดลง ลิเบียต้องการเร่งฟื้นฟูประเทศในทุก ๆ ด้านโดยเร็วที่สุด แต่ขณะนี้ บริษัทต่างชาติยังไม่เข้าไปดำเนินโครงการอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากมีข้อห่วงกังวัลเรื่องสถานการณ์ความมั่นคง อย่างไรก็ตาม

การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มีขึ้นอย่างราบรื่น ถือเป็นสัญญาณที่ดี และจะสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนต่อไป ซึ่งจะเป็นโอกาสของแรงงานไทยที่จะกลับเข้าไปทำงานในลิเบียเช่นกัน (ปัจจุบันมีแรงงานไทยในลิเบียเพียง 400 - 500 คน ต่างจากช่วงก่อนสงคราม ซึ่งมีประมาณ 10,000 คน)

ลิเบียมีศักยภาพมหาศาลที่จะพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน อย่างไรก็ตาม ความช้าเร็วใน การพัฒนาขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของรัฐบาลชุดใหม่ในการปลดอาวุธกลุ่มกองกำลังต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในลิเบียขณะนี้ ทั้งนี้ การที่รัฐบาลใหม่จะสามารถรวมกองกำลังต่าง ๆ เข้าสู่กองทัพแห่งชาติได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพ ความเข้มแข็ง และความเป็นปึกแผ่นของรัฐบาลใหม่เอง

นโยบายต่างประเทศ

ลิเบียขณะนี้มีนโยบายกำลังเร่งฟื้นฟูประเทศที่ได้รับความบอบช้ำจากการสู้รบเมื่อปี 2554 โดยมีนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับ ประเทศตะวันตก โดยเฉพาะประเทศที่ได้ให้ความช่วยเหลือ NTC ในการสู้รบเป็นสำคัญ

ขณะนี้ลิเบียได้รับความช่วยเหลือทั้งในด้านการเมืองและการเงินจากนานาชาติ โดยเฉพาะมิตรประเทศสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และกาตาร์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือลิเบียมาตั้งแต่การสู้รบ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างลิเบียกับรัสเซียและจีนอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากทั้งสองประเทศไม่ได้สนับสนุน NTC ในการสู้รบต่อต้าน พ.อ. กัดดาฟี

ในระดับพหุภาคี ลิเบียเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศและกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น องค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference – OIC) สหภาพแอฟริกา (African Union - AU) สหภาพอาหรับมาเกร็บ (Arab Maghreb Union) และองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (Organization of the Petroleum Exporting Countries - OPEC) เป็นต้น

ความสัมพันธ์
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ด้านการทูต

ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับลิเบียเมื่อปี 2520 และเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ไทยเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงตริโปลี ซึ่งได้เปิดดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2552 และเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ในวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีสมัย พ.อ. กัดดาฟี สภาประชาชนลิเบีย ได้เห็นชอบให้ลิเบียเปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย และลิเบียประสงค์ที่จะเปิดที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตในประเทศไทยให้ได้โดยเร็ว ขณะนี้ ลิเบียได้ให้สถานเอกอัครราชทูตลิเบีย ณ กรุงมะนิลา มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

การค้าระหว่างไทยลิเบียมีแนวโน้มเติบโตและขยายตัว ในปี 2555 การค้าระหว่าง ทั้งสองประเทศมีมูลค่ารวม 369.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.71 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้ารวมมูลค่า 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากลิเบีย ได้แก่ น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ

ด้านการลงทุน

บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมประกวดราคาขอรับสัมปทานแปลงสำรวจและผลิตน้ำมันในลิเบียแล้ว 4 ครั้ง ระหว่างปี 2547 - 2550 ซึ่งแม้ไม่ได้รับการคัดเลือก แต่ก็ยังสนใจที่จะร่วมประกวดราคาในโอกาสต่อไป

ด้านแรงงาน

ก่อนการสู้รบในลิเบีย มีคนงานไทยในลิเบียประมาณ 10,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนงานประเภทช่างฝีมือและกึ่งฝีมือทำงานในโครงการแม่น้ำเทียมงานก่อสร้าง และโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ หลังจากเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในลิเบีย ปัจจุบัน บริษัทนายจ้างในลิเบียเริ่มนำแรงงานไทยกลับไปทำงานรวมทั้งนำแรงงานไทยไปทำงานในลิเบีย ขณะนี้ มีประมาณ 500 คน

ด้านการศึกษา

ปัจจุบัน มีนักศึกษาไทยในลิเบียจำนวน 30 คน ซึ่งทั้งหมดได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลลิเบีย โดยศึกษาอยู่ที่ Islamic Call College กรุงตริโปลี ทั้งนี้ นักเรียนทั้งหมดได้เดินทางกลับประเทศไทยจากเหตุการณ์ทางการเมือง และขณะนี้เริ่มทยอยกลับไปบางส่วนแล้ว

ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  จัดทัวร์ลิเบีย บริการแลนด์ลิเบีย จัดทำแพคเกจทัวร์ลิเบีย จัดคณะทัวร์ลิเบีย บริการข้อมูลท่องเที่ยวลิเบีย จัดหาตั๋วเครื่องบินสู่ประเทศลิเบีย จองโรงแรมที่พักลิเบีย จัดประชุมสัมนาที่ประเทศลิเบีย งานแสดงสินค้าที่ประเทศลิเบีย รถทัวร์ลิเบีย  วีซ่าลิเบีย  

รับจัดทัวร์ลิเบียกรุ๊ปพิเศษสำหรับท่านที่สนใจเดินทางไปสัมผัสประเทศลิเบีย ด้วยตนเอง
ติดต่อ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์ แลนด์ลิเบียในประเทศไทย
โทร. 02-4282114
Email:  u.travel@hotmail.com

ทัวร์ลิเบีย TOUR LIBYA  ทัวร์ต่างประเทศ  :  ประเทศลิเบีย
โปรแกรมทัวร์ลิเบียแยกตามเดือน
* ทัวร์ลิเบียเดือนมกราคม * ทัวร์ลิเบียเดือนกุมภาพันธ์ * ทัวร์ลิเบียเดือนมีนาคม
* ทัวร์ลิเบียเดือนเมษายน * ทัวร์ลิเบียเดือนพฤษภาคม * ทัวร์ลิเบียเดือนมิถุนยน
* ทัวร์ลิเบียเดือนกรกฎาคม * ทัวร์ลิเบียเดือนสิงหาคม * ทัวร์ลิเบียเดือนกันยายน
* ทัวร์ลิเบียเดือนตุลาคม * ทัวร์ลิเบียเดือนพฤศจิกายน * ทัวร์ลิเบียเดือนธันวาคม

* ทัวร์ลิเบีย * เที่ยวลิเบีย * ข้อมูลลิเบีย * ประวัติลิเบีย * ประเทศลิเบีย * อุณหภูมิลิเบีย * สถานที่เที่ยวลิเบีย




แอฟริกา AFRICA

ทัวร์แอฟริกา
11 วัน มาดากัสการ์ – มอริเชียส – รียูเนียน
ทัวร์กานา TOUR GHANA
ทัวร์เคนย่า แพคเกจทัวร์เคนย่า เที่ยวเคนย่าซาฟารี ทัวร์เคนย่าตลาดบน
ทัวร์เคนย่าซาฟารี 8 วัน 5 คืน
KE121101YZ-Safari Kenya 8 Days 5 Nights Kenya Airways flight by July - December 2560
ทัวร์แทนซาเนีย เที่ยวแทนซาเนีย
ทัวร์ตูนิเซีย เที่ยวตูนีเซีย แลนด์ทัวร์ตูนีเซีย ชำนาญทัวร์ตูนีเซีย
ทัวร์โมรอคโค อยู่ดี กินดี พัก 5 ดาว ปี 2567 เจาะลึกโมร็อกโก โดยคุณเส็ง ผู้ชำนาญทัวร์โมรอคโค article
ทัวร์ยูกันดา อูกานดา Uganda
ทัวร์เอธิโอเปีย เที่ยวเอธิโอเปีย
ทัวร์อียิปต์ ปี 2567 ทัวร์คุณภาพ พัก 5 ดาว ล่องเรือสำราญสุดหรูตามลำน้ำไนล์ โดยผู้ชำนาญทัวร์อียิปต์
ทัวร์โมซัมบิก เที่ยวโมซัมบิก Mozambique
ทัวร์แอฟริกาใต้ ข้อมุูลเที่ยวแอฟริกาใต้ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
AF121203BZ_SOUTH_AFRICA_11D8N_by_SQ_2017
ทัวร์เซเนกัล
ทัวร์มาลี
ทัวร์แอลจีเรีย แลนด์แอลจีเรีย ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
ทัวร์สวาซิแลนด์
โปรแกรม 8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส RE15150908MZ
8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส
โปรแกรม 10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย KT15151010YZ
10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย 2019
ทัวร์คองโก – ยูกันดา – รวันดา – บุรุนดี 12 วัน