dot
ค้นหารายการทัวร์

dot
คอลเซ็นเตอร์
รายการทัวร์ในทวีปเอเชีย
bulletทัวร์จีนChina
bulletทัวร์ญี่ปุ่น Japan
bulletทัวร์เกาหลีเหนือ North Korea
bulletทัวร์เกาหลีใต้ South Korea
bulletทัวร์ไต้หวัน Taiwan
bulletทัวร์ฮ่องกง Hong Kong
bulletทัวร์มาเก๊า Macao
bulletทัวร์เวียดนาม Viet Nam
bulletทัวร์บรูไน Brunei
bulletทัวร์มาเลเซีย Malaysia
bulletทัวร์พม่า Myanmar
bulletทัวร์ลาว Tour Lao
bulletทัวร์อินเดีย India
bulletทัวร์ศรีลังกา Sri Lanka
bulletมองโกเลีย Mongolia
bulletทัวร์ภูฏาน Bhutan
bulletทัวร์ปากีสถาน Pakistan
bulletทัวร์เนปาล Nepal
bulletทัวร์ฟิลลิปปินส์Philippines
bulletทัวร์สิงค์โปร์ (Singapore)
bulletทัวร์อินโดนีเซีย Indonesia
bulletทัวร์คาซัคสถาน Kazakhstan
bulletทัวร์เติร์กเมนิสถาน Turkmenistan
bulletทัวร์อุซเบกิสถาน Uzbekistan
bulletทัวร์ทรานไซบีเรีย Tran siberia
bulletทัวร์จอร์เจีย Georgia
bulletทัวร์อาเซอร์ไบจัน Azerbaijan
bulletทัวร์อาร์เมเนีย Armenia
รายการทัวร์ในทวีปยุโรป
bulletทัวร์ยุโรป Tour Europe
bulletทัวร์ยุโรปตะวันออก East Europe
bulletทัวร์สแกนดิเนเวีย Scandinavia
bulletทัวร์ไอซ์แลนด์ - Iceland
bulletทัวร์กรีนแลนด์ Greenland
bulletทัวร์บอลติก Baltic
bulletทัวร์บอลข่าน Balkans
bulletทัวร์อังกฤษ Great Britain
bulletทัวร์รัสเซีย Russia
bulletทัวร์สวิตเซอร์แลนด์ Switzerland
bulletทัวร์อิตาลี Italy
bulletทัวร์โรมาเนีย Romania
bulletทัวร์กรีซ Greece
bulletทัวร์โครเอเซีย Croatia
bulletทัวร์สเปน โปรตุเกส Spain-Portugues
bulletทัวร์ยูเครน Ukraine
bulletทัวร์มอนเตเนโกร Montenegro
bulletทัวร์บอสเนีย เฮอร์เซโกวีนา
bulletทัวร์เซอร์เบีย Serbia
ทัวร์อเมริกา
bulletทัวร์อเมริกา America
bulletทัวร์แคนาดา Canada
bulletทัวร์อเมริกาใต้ South America
bulletทัวร์เม็กซิโก Mexico
bulletทัวร์คิวบา Cuba
bulletทัวร์ชิลี Chile
bulletทัวร์เอกวาดอร์ Ecuador
bulletทัวร์เปรู Peru
bulletทัวร์เวเนซูเอล่า Venezuela
รายการทัวร์ในทวีปออสเตรเลีย
bulletทัวร์ออสเตรเลีย Australia
bulletทัวร์นิวซีแลนด์ New Zealand
รายการทัวร์ในตะวันออกกลาง
bulletทัวร์คูเวต Kuwait
bulletทัวร์จอร์แดน Jordan
bulletทัวร์ซีเรีย Syria
bulletทัวร์ดูไบ Dubai
bulletทัวร์ตุรกี Turkey
bulletทัวร์บาห์เรน Bahrain
bulletทัวร์เยเมน Yemen
bulletทัวร์เลบานอน Lebanon
bulletทัวร์อิรัค Iraq
bulletทัวร์อิหร่าน Iran
bulletทัวร์อิสราเอล Israel
bulletทัวร์โอมาน Oman
รายการทัวร์ในทวีปแอฟริกา
bulletทัวร์แอฟริกา Tour Africa
bulletทัวร์แอฟริกาใต้ South Africa
bulletทัวร์แอลจีเรีย Algeria
bulletทัวร์อียิปต์ Egypt
bulletเอธิโอเปีย Ethiopia
bulletทัวร์กานา Ghana
bulletทัวร์เคนย่า Kenya
bulletทัวร์แทนซาเนีย Tazania
bulletทัวร์ลิเบีย Libya
bulletทัวร์มาลี Mali
bulletทัวร์โมรอคโค Morocco
bulletทัวร์โมซัมบิก Mozambique
bulletทัวร์ตูนีเซีย Tunisia
bulletทัวร์เซเนกัล Senegal
bulletทัวร์สวาซิแลนด์ Swaziland
bulletทัวร์ยูกันดา Uganda
ทัวร์เรือสำราญ
bulletเรือสำราญ Arcadia Cruises
bulletเรือสำราญ Celebrity Cruises
bulletเรือสำราญ Costa Cruise
bulletเรือสำราญ MSC Cruises
bulletเรือสำราญ Princess Cruise
bulletเรือสำราญ Royal Caribean
bulletเรือสำราญ Star Cruises
bulletทัวร์เรือสำราญทั่วโลก world cruises
bulletอโรซ่า AROSA
bulletอเวลอน AVALON
ขั้นตอนการจองทัวร์และการชำระเงิน
ค้นหาข้อมูล ก่อนเดินทาง
ข่าวเด่น ประจำวัน
dot

dot


Facebook utravel.in.th

Line ID UTRAVEL
Line ID :  u.travel

 

 

Rabat
MOROCCO

 

เวลาประเทศไทย THAILAND








 

 



ทัวร์ยูกันดา อูกานดา Uganda

ทัวร์ต่างประเทศ  :  ทัวร์ยูกันดา UGANDA 

 ทัวร์ยูกันดา  Tour Uganda  ยู. แทรเวล วาเคชั่นส์  ขอนำเสนอโปรแกรมทัวร์ยูกันดา  ประเทศที่มีชนเผ่าแอฟริกันหลากหลายชนเผ่า  มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม 

 

สาธารณรัฐยูกันดา
Republic of Uganda

ทัวร์ยูกันดา ข้อมูลทั่วไป
 

ธงชาติยูกันดา
Flag of Uganda
ธงชาติประเทศยูกันดา

แผนที่ประเทศยูกันดา
Map of Uganda

แผนที่ประเทศยูกันดา Map of Uganda
 
ที่ตั้ง ตะวันออกของทวีปแอฟริกา บริเวณเส้นศูนย์สูตร ไม่มีทางออกทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง
ทิศเหนือ ติดกับซูดาน
ทิศใต้ ติดกับรวันดาและแทนซาเนีย
ทิศตะวันออก ติดกับเคนยา
ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (เดิมคือ ซาอีร์)
พื้นที่ 197,000 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง กรุงกัมปาลา (Kampala)
ภูมิอากาศ ร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี ยกเว้นฤดูแล้ง 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ และเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างแห้งแล้ง
ประชากร 36.1 ล้านคน  (2555)
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ 
ภาษาท้องถิ่น Luganda, Kiswahili, Luo, Lunyoro - Lutoro Bantu และ Arabic
ศาสนา โปรเตสแตนท์ ร้อยละ 42 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 41.9 อิสลาม ร้อยละ 12.1 อื่นๆ ร้อยละ 3.1 ไม่มีศาสนา ร้อยละ 0.9       
ระบอบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล

 
ประธานาธิบดี นายโยเวรี คากูทา มูเซเวนี (Yoweri Kaguta Museveni) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 29 มกราคม 2529

 
นายกรัฐมนตรี นายอามามา อึบาบาซี (Amama Mbabazi) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2554

 
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายแซม กุเตซา (Sam Kutesa) ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 13 มกราคม 2548

หน่วยเงินตรา ชิลลิงยูกันดา  (UGX) 1 บาท= 89.18 UGX (15 มีนาคม 2556) 

 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 21.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2555)

 
รายได้ประชาชาติต่อหัว 1,561.0 ดอลล่าร์สหรัฐ (2555)  

 
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.3 (2555)

 
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 14 (2555) 

 
เงินทุนสำรอง 2.705 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2555)

 
อุตสาหกรรมที่สำคัญ น้ำตาล การหมัก ยาสูบ สิ่งทอจากฝ้าย ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า

 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ กาแฟ ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา ชา ฝ้าย ดอกไม้ พืชสวน ทอง

 
สินค้านำเข้าที่สำคัญ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นทุน ยานพาหนะ ปิโตรเลียม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ธัญพืช

 
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ นำเข้าจากเคนยา อินเดีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน แอฟริกาใต้ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
 

 
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
ยูกันดา ตกเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษตั้งแต่ปี 2436 (ค.ศ. 1893) จากข้อตกลงระหว่างกษัตริย์แห่ง Buganda ซึ่งเป็นเผ่าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดกับรัฐบาลอังกฤษ หลังจากการเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ อิทธิพลทางเศรษฐกิจของชนผิวขาวจากเคนยาซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในยูกันดา เริ่มขยายตัวมากขึ้น ทำให้กลุ่มผู้นำ Buganda ไม่พอใจและระแวงว่าคนเหล่านี้จะมีอำนาจครอบงำทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจโดย สิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อมีการเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งสหพันธรัฐแอฟริกาตะวันออก (East African Federation) ซึ่งเป็นรัฐเอกราชใหม่ที่จะรวมอดีตอาณานิคมอังกฤษในแอฟริกาตะวันออกเข้าด้วย กัน ผู้นำ Buganda จึงคัดค้านข้อเสนอนี้ และต้องการที่จะแยกตัวออกเป็นประเทศเอกราชต่างหาก เพราะเกรงว่าชนผิวขาวในเคนยาจะมีอิทธิพลเหนือยูกันดา ข้อเรียกร้องดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย้งกับนักการเมืองจากเผ่าอื่น ซึ่งต้องการให้ยูกันดาได้รับเอกราชแล้วรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว ผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ นาย Milton Obote หัวหน้าพรรค Uganda People's Congress (UPC) ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ยูกันดาได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2505 (ค.ศ. 1962) และนาย Obote ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญฉบับแรกกำหนดให้ยูกันดาเป็นสหพันธรัฐ มีลักษณะพิเศษ คือ ประกอบด้วยอาณาจักรต่าง ๆ โดยอาณาจักรที่สำคัญที่สุด คือ Buganda ต่อมาในปี 2510 (ค.ศ. 1967) นาย Obote ได้ยึดอำนาจตั้งตนเป็นประธานาธิบดี พร้อมกับยกเลิกการปกครองแบบสหพันธรัฐ อย่างไรก็ดี นาย Obote เป็นประธานาธิบดีได้เพียง 4 ปีเศษ ก็ถูกพลตรี Idi Amin ทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2515 (ค.ศ. 1972) ประธานาธิบดี Amin ปกครองประเทศแบบเผด็จการ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้ประกาศสงครามเศรษฐกิจยึดทรัพย์สินของเอกชนเป็นของรัฐประมาณ 3,500 ธุรกิจ มูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขับไล่ชาวเอเชียประมาณ 75,000 คน ทำให้คนงานซึ่งทำงานในสาขาพาณิชย์และอุตสาหกรรมว่างงานจำนวนมาก เศรษฐกิจของยูกันดา (ซึ่งหลังได้รับเอกราช เคยเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางของแอฟริกาตะวันออก) เริ่มตกต่ำ ผลผลิตลดลงร้อยละ 16 เกิดภาวะเงินเฟ้อ ต่อมาในปี 2522 (ค.ศ. 1979) กลุ่มต่อต้านโดยความช่วยเหลือของกองทหารแทนซาเนียสามารถโค่นล้มอำนาจ ประธานาธิบดี Amin ได้สำเร็จ นาย Obote กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งโดยชนะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2523 (ค.ศ. 1980) แต่ความขัดแย้งระหว่างเผ่าที่ดำรงอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เผ่า Acholi ซึ่งอยู่ทางเหนือ ไม่พอใจต่อการที่นาย Obote ให้ตำแหน่งสำคัญกับคนในเผ่าอื่นจึงทำให้พลโท Tito Okello ซึ่งเป็นคนเผ่า Acholi ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2528 (ค.ศ. 1985) คณะทหารที่ปกครองประเทศได้กวาดล้างศัตรูทางการเมืองอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนไม่พอใจและหันไปสนับสนุนขบวนการต่อต้านแห่งชาติ (National Resistance Movement - NRM) ซึ่งมีนาย Yoweri Museveni เป็นผู้นำ นาย Museveni เคยเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของประธานาธิบดี Obote ระหว่างปี 2510-2515 (ค.ศ. 1967-1972) และหลบหนีไปแทนซาเนียในช่วงที่ประธานาธิบดี Amin ก่อการรัฐประหาร และได้ก่อตั้งขบวนการ NRM ขึ้น ขบวนการ NRM สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลของพลโท Okello ได้ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2529 (ค.ศ. 1986) และนาย Museveni เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลจากพรรคต่าง ๆ รัฐบาลประกาศว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 3-5 ปีข้างหน้า และอนุญาตให้พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังคงอยู่ได้แต่ให้ระงับกิจกรรมชั่วคราวรัฐบาลของประธานาธิบดี Museveni มีเป้าหมายอันดับแรก คือ การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในชาติและฟื้นฟูการปกครองด้วยการจัด ตั้งรัฐบาลที่มาจากผู้แทนหลายฝ่าย เนื่องจากยูกันดามีขบวนการหลายกลุ่มและแตกแยกสู้รบกันเป็นเวลา 20 ปี ทำให้บ้านเมืองถูกทำลายและเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ

รัฐบาล ประกอบด้วยสมาชิกจากขบวนการ National Resistance Movement (NRM), Uganda Patriotic Movement, Democratic Party, Uganda People's Congress, Conservative Party และขบวนการกองโจรเล็ก ๆ 2 องค์การ รัฐบาลทหารชั่วคราวได้ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2529 (ค.ศ. 1986) รับผิดชอบในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สภา National Resistance Council ประกอบด้วยสมาชิก 268 คน ซึ่งนำโดยประธาน คือ ประธานาธิบดีเดิมขบวนการ NRM ประกาศว่าจะปกครองประเทศเพียง 4 ปี แต่ในเดือนตุลาคม 2532 (ค.ศ. 1989) เนื่องจากสภาวะสงครามทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องขอเวลาอีก 5 ปี เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และการขอยืดอายุรัฐบาลประธานาธิบดี Museveni เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เพราะเห็นว่าไม่มีใครที่จะปกครองประเทศแทนประธานาธิบดี Museveni ได้ รัฐบาลได้รับความนิยมจากประชาชนในด้านความปลอดภัย เศรษฐกิจเสรีและนำความสงบสุขสู่ยูกันดา

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2539 (ค.ศ. 1996) ประธานาธิบดี Museveni ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง มีวาระ 5 ปี และสมาชิกของขบวนการ NRM ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนที่นั่ง 276 ที่นั่ง จึงทำให้ขบวนการ NRM มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

ปัจจุบัน ยูกันดากำลังประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางตอนเหนือของประเทศ โดยปัญหาดังกล่าวเริ่มต้นในปี 2530 (ค.ศ. 1987) เนื่องมาจากมีการจัดตั้งกลุ่มกบฏ Lord Resistance Army (LRA) นำโดยนาย Joseph Kony ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มรัฐบาลยูกันดาเพื่อก่อตั้งรัฐบาล Theocratic ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ยึดถือพระเจ้าหรือเทพเจ้าเป็นหลัก ถึงแม้ว่า LRA ไม่ได้เป็นภัยคุกคามสำหรับรัฐบาลยูกันดาก็ตาม แต่ก็ได้ก่อความไม่สงบทางตอนเหนือของยูกันดาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ปัจจุบันมีชาวยูกันดาซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือจำนวนมากต้องประสบ ปัญหาความยากจน ขาดแคลนอาหาร มีอัตราการตายของเด็กสูง มีจำนวนผู้พลัดถิ่นสูง นอกจากนี้ เมื่อปลายปี 2547 (ค.ศ. 2004) ได้มีรายงานด้วยว่า LRA ได้ใช้กำลังกดขี่ทางเพศต่อเด็ก รวมทั้งยังมีเด็กอีกจำนวน 16,000 - 26,000 คน ถูกใช้งานเป็นทหาร (Child Soldiers)

ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 (ค.ศ. 2006) ประธานาธิบดี Museveni ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 59.3 โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี

 

เศรษฐกิจและสังคม

รัฐบาลยูกันดามีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจในยูกันดา ซึ่งได้ดำเนินมาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ โดยภาคเกษตรกรรมถูกปรับลดระดับความสำคัญลง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการทวีความสำคัญขึ้น โดยปัจจุบัน ภาคบริการได้รับความสำคัญมากที่สุด  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยเกิดจากการเติบโตของภาคโทรคมนาคม โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ และการบริการเพื่อการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ยูกันดายังคงประสบปัญหาในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ภายในประเทศ เนื่องจากขาดแหล่งเงินทุน โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างชาติ โดยมีสาเหตุจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา

รัฐบาลยูกันดาได้ใช้นโยบาย “Prosperity for All” ซึ่งเน้นสร้างเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มชนชั้นกลางเป็นตัวขับเคลื่อน เศรษฐกิจด้วยการปฏิรูปการศึกษา การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจและหุ้นส่วนกับต่างชาติ โดยได้จัดตั้ง Private Sector Foundation Uganda (PSFU) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 20-40 ปี เพื่อเป็นจุดประสานงานกลางในการติดต่อกับภาคเอกชนของประเทศต่าง ๆ และสร้างพลวัตทางเศรษฐกิจ ทดแทนนักธุรกิจรุ่นปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุ 40-60 ปี

ยูกันดาและประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาตลาดร่วม แห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern African States - COMESA) และเป็นสมาชิกก่อตั้งประชาคมแอฟริกาตะวันออก (East African Community - EAC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนา โดยในปัจจุบัน EAC ได้เป็นตลาดร่วม (Common Market) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 (ค.ศ. 2010)

สาขาที่ยูกันดามีศักยภาพในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการลงทุน ได้แก่ ภาคการเกษตร อาทิ มันสำปะหลัง ข้าว ผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรทางการเกษตร เนื่องจากชาวยูกันดานิยมบริโภคและมีศักยภาพในการปลูกมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบัน ยูกันดานำเข้าแป้งมันสำปะหลังจากต่างประเทศทั้งสิ้น และภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากยูกันดามีภูมิประเทศที่สวยงามและค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ และมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติเพื่อพัฒนาด้านการ บริหารจัดการการท่องเที่ยว

ถึงแม้ว่านโยบายการปฏิรูปของประธานาธิบดี Museveni จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ผู้บริจาคระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกองทุนการเงินโลก (International Monetary Fund – IMF) ก็ยังไม่มั่นใจในการปราบปรามการทุจริตภายในรัฐบาล นอกจากนี้ ความไม่พอใจอย่างเงียบๆ ของประชาชนยูกันดาต่อกลุ่มนักธุรกิจเชื้อสายเอเชียใต้ก็ยังคุกรุ่นอยู่ ดังจะเห็นได้จากการปะทะกันระหว่างการประท้วงทางการเมืองเป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยูกันดาเป็นประเทศที่มีปัญหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของต่างชาติ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ระบบเศรษฐกิจ และภาคธุรกิจของยูกันดาอ่อนแอ

ความสัมพันธ์

สถิติที่สำคัญ ไทย-ยูกันดา (2555)
มูลค่าการค้าไทย-ยูกันดา 18.18 ล้าน USD (ไทยส่งออก 14.57 ล้าน USD ไทยนำเข้า 3.61 ล้าน USD ไทยได้ดุลการค้า 10.96 ล้าน USD)

 
สินค้าส่งออกของไทย รองเท้าและชิ้นส่วน รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

 
สินค้านำเข้าจากยูกันดา ด้ายและเส้นใย พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ แร่และผลิตภัณฑ์แร่

 
การลงทุน ไม่ปรากฏข้อมูล

 
การท่องเที่ยว ชาวยูกันดามาไทย 2,500 คน

 
คนไทยในยูกันดา 2 คน

 
การตรวจลงตรา Visa on Arrival หรือ ขอรับการตรวจลงตราตามปกติได้ที่สถานเอกอัครราชทูตยูกันดาประจำอินเดีย

 
สำนักงานไทยที่ดูแลยูกันดา สถานกงสุล ณ กรุงกัมปาลา (อยู่ในระหว่างการแต่งตั้งกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดาคนใหม่ เนื่องจากอดีตกงสุลใหญ่กิตติศักดิ์ Mr. James Mulwana ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนมกราคม 2556) หรือ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี

 
สำนักงานยูกันดาที่ดูแลไทย สถานเอกอัครราชทูตยูกันดาประจำอินเดีย

ความสัมพันธ์ทั่วไป

ไทยและยูกันดาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2528 (ค.ศ. 1985) โดยฝ่ายไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ดูแลยูกันดา และแต่งตั้งนาย James Mulwana เป็นกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดา ส่วนฝ่ายยูกันดาได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตยูกันดาประจำสาธารณรัฐอินเดีย มีเขตอาณาครอบคลุมไทย ขณะนี้ ฝ่ายยูกันดาอยู่ระหว่างการสรรหากงสุลกิตติมศักดิ์ยูกันดาประจำไทย แทนที่นายทวี บุตรสุนทร ซึ่งเสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน 2554 (ค.ศ.2011) ที่ผ่านมา ไทยและยูกันดามีความสัมพันธ์ราบรื่น โดยยูกันดาชื่นชมไทยในฐานะเป็นแบบอย่างการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยกับยูกันดายังมีมูลค่าไม่มากแต่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ปี 2554 (ค.ศ. 2011) มูลค่าการค้าระหว่างกันรวม 19.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยเป็นฝ่ายส่งออก 17.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 2.17ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 15.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออกที่สำคัญ   ของไทย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ น้ำตาลทราย เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ สินค้านำเข้าที่สำคัญจากยูกันดา ได้แก่ ด้ายและเส้นใย สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ชา กาแฟ และเครื่องเทศ

ภาครัฐได้จัดคณะไปสำรวจโอกาสการลงทุนในยูกันดาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่
(1) กรมส่งเสริมการส่งออกนำคณะนักธุรกิจเยือนยูกันดา เยเมน ซูดาน และเอธิโอเปีย ระหว่างวันที่  5-17 กรกฏาคม 2553 (ค.ศ. 2010)
(2) BOI นำคณะนักธุรกิจเยือนเคนยาและยูกันดาเพื่อสำรวจโอกาสการลงทุน วันที่ 25-29 เมษายน 2554 (ค.ศ. 2011)
(3) อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกานำคณะผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนเยือนยูกันดา ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2554 (ค.ศ. 2011) จากการเยือนข้างต้น ฝ่ายไทยเห็นว่า ยูกันดามีศักยภาพด้านการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม การแปรรูผลิตภัณฑ์เกษตร และการท่องเที่ยว เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สวยงามและอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี ยังไม่ค่อยมีนักลงทุนไทยสนใจลงทุนในยูกันดามากนัก เนื่องจากการที่ยูกันดาไม่มีทางออกทะเลทำให้ค่าขนส่งสินค้าค่อนข้างสูง

ความร่วมมือทางวิชาการ
ไทยมีนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับยูกันดาในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) โดย สพร. ได้เวียนทุนฝึกอบรม (Annual International Training Course - AITC) ให้ยูกันดาพิจารณาส่งบุคลากรเข้าร่วมเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ หน่วยงานราชการของยูกันดาสนใจมาศึกษาดูงานด้านต่างๆ ในประเทศไทย อาทิ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรป่าไม้ และการจัดการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

ชาวยูกันดาที่มีฐานะดีนิยมส่งบุตรหลานมาศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรนานาชาติที่ประเทศไทยมากขึ้น

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
อยู่ระหว่างการพิจารณาความตกลงทั่วไปว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ และบันทึกความเข้าในด้านสาธารณสุข

การเยือนของผู้นำระดับสูง
ฝ่ายไทย

(1) นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนยูกันดาเพื่อส่งเสริมและขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและยูกันดาร่วมทั้งเป็นประธานเปิดศูนย์กระจายสินค้าไทย (Thai Distribution Center) ณ กรุงกัมปาลา ระหว่างวันที่ 23 - 24 มิถุนายน 2548  (ค.ศ. 2005)

(2) นายโฆษิต ฉัตรไพบูรณ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงไนโรบี ได้เข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนาย Yoweri Museveni เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2554 (ค.ศ. 2011) ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย

(3) นายเกียรติคุณ ชาติประเสริฐ อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
นำคณะผู้แทนภาครัฐและเอกชนเยือนยูกันดาระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน 2554 (ค.ศ. 2011) เพื่อแสวงหาลู่ทางการค้าและการลงทุน

(4) พลเอกธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภานำคณะผู้แทนรัฐสภาเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 126 ที่ยูกันดา ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2555 (ค.ศ. 2012)

ฝ่ายยูกันดา
ระดับพระราชวงศ์

 (1) สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบูกันดา (Kabaka Ronald Muwenda Mutebi ll) เสด็จฯ เยือนไทย โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบูกันดาในวันที่ 30 สิงหาคม 2548

สมเด็จพระราชาธิบดีฯ ได้ทอดพระเนตรศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร รวมทั้งโครงการหลวงห้วยฮ่องไคร้และดอยอินทนนท์ ระหว่างเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม – 3 กันยายน 2548 (ค.ศ. 2005)

ระดับรัฐบาล
ประธานาธิบดี

- เมื่อวันที่ 25 - 28 กันยายน 2546 (ค.ศ. 2003) นาย Yoweri Museveni ประธานาธิบดียูกันดา เยือนไทยก่อนเดินทางเข้าร่วมประชุม Tokyo International Conference on African Development (TICAD) ครั้งที่ 3  ณ ประเทศญี่ปุ่น และได้มีโอกาสพบหารือนายกรัฐมนตรี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับผู้นำระหว่างสองประเทศ  และเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  นอกจากนี้ยังได้พบปะผู้แทนภาคเอกชนไทย อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (the Joint-Standing Committee on Trade, Industries and Banking) เพื่อส่งเสริมการลงทุนในยูกันดาในด้านต่าง ๆ ภาคเอกชนยูกันดาที่ร่วมอยู่ในคณะฯ อีก 60 คน ยังได้พบเจรจากับภาคเอกชนของไทยซึ่งมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการค้าและ การลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ

- เมื่อวันที่ 11 - 13 กรกฎาคม 2547 (ค.ศ. 2004) นาย Yoweri Museveni เข้าร่วมการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์  ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งไทยและยูกันดาเป็นสองประเทศที่ได้รับคำชมเชยจากสหประชาชาติในความสำเร็จด้านการป้องกันและบำบัดโรคเอดส์

รองประธานาธิบดี
- เมื่อวันที่ 15 - 20 กันยายน 2549 (ค.ศ. 2006) Professor Gilbert Balibaseka Bukenya  รองประธานาธิบดียูกันดา นำคณะเยือนประเทศไทย

รัฐมนตรี
- เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2536 (ค.ศ. 1993) นาย Ally M. Kirunda – Kivejinja รัฐมนตรีประจำสำนักประธานาธิบดีกิจการต่างประเทศเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อมอบสาส์นจากประธานาธิบดียูกันดาและขอเสียงสนับสนุนให้แก่ผู้แทนยูกันดาซึ่งสมัครเป็นรองผู้อำนวยการ International Organization for Migration (IOM)

- เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2537 (ค.ศ. 1994) นาย Richard H. Kaijuka รัฐมนตรีการค้า และอุตสาหกรรมยูกันดา และนาย James Mulwana กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำยูกันดา เข้าพบรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

- เมื่อวันที่ 11 - 20 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ. 2000) นาย Moses Ali  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยว การค้าและอุตสาหกรรมยูกันดา เยือนไทยเพื่อเข้าร่วม การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10  

- เมื่อวันที่ 11 - 15 สิงหาคม 2545 (ค.ศ. 2002) นาย Gerald Sendaula รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง การวางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจยูกันดาและคณะเยือนไทย เพื่อชักชวนนักธุรกิจไทยไปลงทุนในยูกันดา

- เมื่อวันที่ 8 - 22 ธันวาคม 2547 (ค.ศ. 2004) นาย Omwony Ojwok รัฐมนตรีแห่งรัฐดูแลเรื่องเศรษฐกิจ (Minister of State in Charge of Economic Monitoring) และคณะเดินทางมาประเทศไทย เพื่อศึกษาดูงานด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเกษตร รวมทั้งความร่วมมือทางวิชาการและบทบาทของภาครัฐในกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย  

- เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2548 (ค.ศ. 2005) นาย Ezra Suruma รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วางแผน และการพัฒนาเศรษฐกิจเยือนประเทศไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ) ได้เข้าพบผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายวีระชัย วีระเมธีกุล) และเข้าเยี่ยมคารวะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ในวันเดียวกันด้วย

- เมื่อวันที่ 20 - 25 เมษายน 2549 (ค.ศ. 2006) นาย Khiddu Makubuya รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและอัยการสูงสุดเป็นผู้แทนรองประธานาธิบดียูกันดา เพื่อศึกษาดูงานด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์

 




แอฟริกา AFRICA

ทัวร์แอฟริกา
11 วัน มาดากัสการ์ – มอริเชียส – รียูเนียน
ทัวร์กานา TOUR GHANA
ทัวร์เคนย่า แพคเกจทัวร์เคนย่า เที่ยวเคนย่าซาฟารี ทัวร์เคนย่าตลาดบน
ทัวร์เคนย่าซาฟารี 8 วัน 5 คืน
KE121101YZ-Safari Kenya 8 Days 5 Nights Kenya Airways flight by July - December 2560
ทัวร์แทนซาเนีย เที่ยวแทนซาเนีย
ทัวร์ตูนิเซีย เที่ยวตูนีเซีย แลนด์ทัวร์ตูนีเซีย ชำนาญทัวร์ตูนีเซีย
ทัวร์โมรอคโค อยู่ดี กินดี พัก 5 ดาว ปี 2567 เจาะลึกโมร็อกโก โดยคุณเส็ง ผู้ชำนาญทัวร์โมรอคโค article
ทัวร์เอธิโอเปีย เที่ยวเอธิโอเปีย
ทัวร์อียิปต์ ปี 2567 ทัวร์คุณภาพ พัก 5 ดาว ล่องเรือสำราญสุดหรูตามลำน้ำไนล์ โดยผู้ชำนาญทัวร์อียิปต์
ทัวร์โมซัมบิก เที่ยวโมซัมบิก Mozambique
ทัวร์แอฟริกาใต้ ข้อมุูลเที่ยวแอฟริกาใต้ ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
AF121203BZ_SOUTH_AFRICA_11D8N_by_SQ_2017
ทัวร์เซเนกัล
ทัวร์ลิเบีย
ทัวร์มาลี
ทัวร์แอลจีเรีย แลนด์แอลจีเรีย ยู.แทรเวล วาเคชั่นส์
ทัวร์สวาซิแลนด์
โปรแกรม 8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส RE15150908MZ
8 วัน 6 คืน มาดากัสการ์ – รียูเนียน – มอริเชียส
โปรแกรม 10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย KT15151010YZ
10 วัน เคนย่า แทนซาเนีย 2019
ทัวร์คองโก – ยูกันดา – รวันดา – บุรุนดี 12 วัน